RESUME


RESUME

ประวัติส่วนตัว

      นาย นที ยิ่งใหญ่      วัน/เดือน/ปีเกิด : 16 กันยายน 2534
      อายุ 22 ปี               น้ำหนัก 60          ส่วนสูง  175
      สัญชาติ ไทย          เชื้อชาติ ไทย       ศาสนา พุทธ
      บ้านเลขที่   65 ม. 3 ตำบล คลองสวน อำเภอ บางบ่อ 
      จังหวัด สมุทรปราการ 10560
      Email : thee_on_kung@hotmail.com
      โทร    : 082-4676750

จุดมุ่งหมายในงานอาชีพ 

        ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าหรืองานทางด้านอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์,โทรศัพท์, แอร์, อิเล็กทรอนิคส์ 
 เพื่อให้ตนเองมีประสบการณ์และจะพัฒนาความรู้ความสามารถให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในองค์กร

ประวัติการศึกษา
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ คณะเทคโนโลยีอุสาหกรรม       สาขา วิศวกรรมไฟฟ้า พ.ศ. 2556
  • สำเร็จการศึกษามัธยมปลาย เตรียมอุดมศึกษาเปรงวิสุธาธิบดี สาย วิทย์ - คณิต พ.ศ. 2552

ประสบการณ์ทำงาน
  • นักศึกษาฝึกงาน บริษัท เดลต้าอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ยูนิชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด 
  • บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) จำกัด

ทักษะการทำงาน
  • สามารถใชโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ต่างๆ ได้
  • มีความรับผิดชอบ และมนุษยสัมพันธ์ดี     
  • สามารถเรียนรู้งานใหม่ๆ ได้   


คติประจำใจ : อย่ายอมแพ้ในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ

หลักการใช้อังกฤษ

  Present Simple Tense ใช้บ่อยสุด เป็นเนื้อหาในตำราเสียส่วนใหญ่
  Present Continuous Tense ใช้บ่อยเหมือนกัน
  Present Perfect Tense ใช้ไม่บ่อยเท่าสองอันแรก
  Present Perfect Continuous Tense เห็นใช้อยู่แต่ไม่บ่อย

ดิจิทัลอิเล็กทรอนิกส์

ความรู้พื้นฐานด้านดิจิตอล (Number System)

          ระบบเลขฐาน จัดเป็นระบบตัวเลขที่ใช้งานอยู่ใน PLC ดังนั้นผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องศึกษาระบบเลขฐานให้เข้าใจประกอบกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง
                       ระบบเลขฐานสอง (Binary)
                       ระบบเลขฐานสิบ (Decimal)
                       ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal)

ความสัมพันธ์ของเลข BIN, BCD และ HEX สามารถกำหนดให้เป็นตารางได้ดังนี้

HEX
BCD
FOUR DIGIT BINARY
2^3 = 8
2^2 = 4
2^1 = 2
2^0 = 1
0
0
0
0
0
0
1
1
0
0
0
1
2
2
0
0
1
0
3
3
0
0
1
1
4
4
0
1
0
0
5
5
0
1
0
1
6
6
0
1
1
0
7
7
0
1
1
1
8
8
1
0
0
0
9
9
1
0
0
1
A
-
1
0
1
0
B
-
1
0
1
1
C
-
1
1
0
0
D
-
1
1
0
1
E
-
1
1
1
0
F
-
1
1
1
1

                    BIN (Binary)                          =       ระบบเลขฐานสอง
                    BCD (Binary Code Decimal)  =       ระบบเลขฐานสิบ
                    HEX (Hexadecimal)               =       ระบบเลขฐานสิบหก

1. ระบบเลขฐานสอง (Binary)
         ระบบเลขฐานสอง (Binary) จะเป็นระบบเลขที่ง่ายกว่าเลขฐานสิบ เนื่องจากระบบเลขฐานสอง จะใช้ัอักขระแทนสองตัว ระบบเลขฐานสองนี้ใช้ในระบบดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะว่าวงจรดิจิตอลจะมีเพียงสองสถานะ(two states)หรือระดับสัญญาณสองระดับ (two signal levels)โดยมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 2 ตัว คือ  0   และ  1 หรืออาจใช้คำอื่นแทน

สถานะหนึ่ง
สถานะตรงข้าม
0
1
Off
On
Space
Mark
Open
Closed
Low
Hi
          ถ้าจะเทียบเลขฐานสองกับเลขฐานสิบแล้ว เลขฐานสองจะมีจำนวนหลักมากกว่า เพราะว่าในแต่ละหลักจะมีเลขได้สองค่า แต่ถ้าเป็นเลขฐานสิบแต่ละหลักจะมีเลขได้เก้าค่าคือ 0 ถึง 9
          ระบบเลขฐานสิบ แต่ละหลักจะมีค่าเวจต์เป็นค่าสิบยกกำลังของหลักนั้น ระบบเลขฐานสองก็เช่นเดียวกัน จะมีฐานของเลขฐานสอง (base 2 system) การหาค่าเวจต์ในแต่ละหลักจะหาได้จากค่ายกกำลังสองของหลักนั้นๆ

ฐานสอง
ฐานสิบ
2^0
1
2^1
2
2^2
4
2^3
8
2^4
16
2^5
32
2^6
64
2^7
128
2^8
256
2^9
512
2^10
1024
ค่าของ2ยกกำลังต่างๆเป็นฐานสิบ
          ถ้าต้องการแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบก็สามารถทำได้ เช่นถ้าแปลงเลข 101101 เป็นเลขฐานสิบสามารถทำได้ดังนี้
                             (1x2^5)+(0x2^4)+(1x2^3)+(1x2^2)+(0x2^1)+(1x2^0) = 45
                    ตัวเลขฐานสอง 101101 จะมีค่าเท่ากับ 45 ในระบบเลขฐานสิบ
          ระบบเลขฐานสองก็มีทศนิยมเช่นเดียวกับระบบเลขฐานสิบ ซึ่งเรียกว่าไบนารีพอยต์(binary point) โดยจะมีเครื่องหมายจุดแบ่งตัวเลขจำนวนเต็มกับเลขทศนิยมออกจากกัน ค่าเวจต์ของเลขทศนิยมแต่ละหลักจากซายไปขวาจะเป็นดังนี้ 1/2 , 1/4 , 1/8 , 1/16........ไปเรื่อยๆหรืออาจจะเขียนเป็นเลขยกกำลังค่าลบก็ได้
ฐานสอง
ฐานสิบ
2^ -1
0.5
2^ -2
0.25
2^ -3
0.125
2^ -4
0.0652
2^ -5
0.03125
2^ -6
0.015625
ค่าของ2ยกกำลังค่าลบ เป็นเลขฐานสิบ
           ในระบบเลขฐานสิบนั้นแต่ละหลักจะเรียกว่าหลัก แต่ถ้่าเป็นระบบเลขฐานสองแต่ละหลักจะเรียกว่าบิต (bit) คำว่าบิต (bit) ย่อมาจาก binary digit ถ้าในงานดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ จะพบคำว่า “Bit” บ่อยมาก
          ในแต่ละหลักของเลขฐานสอง หลักซึ่งมีค่าเวจต์ต่ำสุดซึ่งอยู่ทางด้านขวาสุด จะเรียกว่าบิตที่มีความสำคัญต่ำสุด(LSB : Least Significant Bit) สำหรับด้านที่อยู่ซ้ายสุดจะมีค่าเวจต์สูงสุด เรียกว่าบิตที่มีความสำคัญสูงสุด(MSB : Most Significant Bit) ถ้าใช้ในระบบเลขฐานสิบจะเรียกว่า LSD(Least Significant Digit) และ MSD(Most Significant Digit) ในระบบดิจิตอลในบางครั้งเราจะเห็นเขียนว่า MSD , LSD กำกับเอาไว้ด้วย
2. ระบบเลขฐานสิบ (Decimal)

          ระบบเลขฐานสิบ (Decimal) มีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 10 ตัว คือ   0   1   2   3   4   5   6   7   8   9  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ BCD code อันนี้คงไม่ต้องกล่าวอะไรมากเพราะอยู่ใ้นชีวิตประจำวันอยู่แล้ว


3. ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) 

           ระบบเลขฐานสิบหก (Hexadecimal) ฐานของมันจะมีค่าเป็น 16 ซึ่งจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันอยู่ทั้งหมด 16 ตัว คือ 0   1   2   3   4   5   6   7   8   9   A   B   C   D   E   F  (ตัวอักษร 6 ตัว แทน ตัวเลข 10 –15 ตามลำดับ)
           ในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ตัวเลขที่ใช้ในการประมวลผลจะเป็นเลขฐานสอง แต่ถ้าตัวเลขมีค่ามากจะทำให้เลขฐานสองมีหลายหลัก จึงใช้เลขฐานสิบหกแทนเลขฐานสอง แล้วจะมีการแปลงเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานสองอีกทีหนึ่ง เลขฐานสิบหกนั้นจะนิยมใช้มากในคอมพิวเตอร์ ถ้าหากไบนารี่ที่ใ่ช้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นแบบ 8 บิต ซึ่งแทนเลขฐานสิบหกได้ตั้งเเต่ 0 ถึง 255 แต่สามารถแทนด้วยเลขฐานสิบหกเพียงสองหลักเท่านั้น ถ้าหากเรามีเลขฐานสิบ 99,999,999 ถ้าเขียนแทนด้วยเลขไบนารีจะต้องใช้หลายบิต แต่ถ้าเขียนเเทนด้วยเลขฐานสิบหกจะใช้เพียงไม่กี่หลัก
           ค่าสิบหกสามารถแทนได้ด้วยสองยกกำลังสี่ หรือ 16 = 2^4 ดังนั้นเลขฐานสิบหกจึงสามารถเขียนแทนด้วยเลขฐานสองได้สี่บิต โดยมีค่าตั้งแต่ 0000 ถึง 1111 หรือแทนด้วยอักษร 0 ถึง F ความสัมพันธ์ระหว่างเลขฐานสอง ฐานสิบ และฐานสิบหกแสดงใ้ว้ในตารางความสัมพันธ์ของเลข BIN, BCD และ HEX
           การแปลงเลขฐานสองเป็นเลขฐานสิบหกก็สามารถทำได้โดยง่าย โดยจัดเลขฐานสองตั้งแต่บิตแรกจนถึงบิตสุืดท้ายเป็นกลุ่มๆ โดยจัดกลุ่มละ 4 บิตและแทนค่าด้วยเลขฐานสิบหกแต่ละค่าให้สอดคล้องกันตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นการแปลงเลขฐานสองเป็นฐานสิบหก

            —การแปลงเลข 10101011111101 เป็นเลขฐานสิบหกสามารถทำได้โดย การแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4 บิตดังนี้
                              0010     1010     1111     1101
          จะเห็นว่าถ้าแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 บิต จะมีสองบิตบนที่จัดกลุ่มไม่ได้ ก็ให้เติม 0 ไปในกลุ่มนั้นให้ครบ 4 บิต จากนั้นแทนค่าตัวเลขแต่ละกลุ่มด้วยเลขฐานสิบหกดังนี้
                                2            A          F          D
ดังนั้นจะได้ 10101011111101 มีค่าเท่ากับ 2AFD

          ให้จำใว้ว่าเลขฐานสิบหกที่เรามองเห็นนั้นเป็นการใช้แทนเลขไบนารีเพราะ CPU ไม่สามารถประมวลผลเลขฐานสิบหกได้

การวัดและอุปกรณ์การวัดทางไฟฟ้า

ออสซิลโลสโคป

ออสซิลโลสโคปเป็นเครื่องมือวัดทาง อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอีกชนิดหนี่งที่ใช้ในการวัดแสดงรูปคลื่นสัญญาณออกมาเป็นภาพปรากฎบนจอหลอดภาพให้เห็นได้ เช่น การวัดสัญญาณกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าการวัดความถี่ของสัญญาณ การวัดเฟสของสัญญาณและรวมถึงการวัดสัญญาณพัลส์การอ่านค่าแอมพลิจูดของสัญญาณจะเป็น พีค-ทู-พีค
หลักการทำงานของออสซิลโลสโคป

ออสซิสโลสโคปจะใช้หลักการบังคับการบ่ายเบนของลำอิเล็กตรอนภายในหลอดภาพรังสีแคโทดด้วยระบบการบ่ายเบนทางไฟฟ้าสถิต
หน้าที่หลักของออสซิลโลสโคป คือ

1.รับสัญญาณ
2.แสดงภาพของสัญญาณที่รับ
3.วิเคราะห์สัญญาณ
ประโยชน์ของการนำออสซิสโลสโคปไปใช้งาน

1.ใช้วัดแรงดันไฟฟ้าตรงและวัดแรงดันไฟฟ้าสลับและกระแสไฟฟ้าของสัญญาณ
2.ใช้วัดค่าเวลา คาบเวลา และความถี่ของสัญญาณ
3.ใช้วัดผลต่างทางเฟสของสัญญาณ และเปรียบเทียบสัญญาณ 2สัญญาณ
4.ใช้วัดตรวจสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับความถี่และรูปคลื่นสัญญาณที่ถูกต้อง เช่น การปรับจูนเครื่องรับ-ส่งวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ วิดีโอ เครื่องเสียง เป็นต้น
5.ใช้ตรวจเช็คคุณสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ว่าดีหรือเสียได้โดยดูจากภาพที่ปรากฎบนจอ
6.นำไปใช้ประกอบร่วมกับอุปกรณ์อื่นเพื่อให้สามาถใช้งานด้านอื่นได้กว้างขวาง
หลักการเกิดภาพบนจอออสซิสโลสโคป

การเกิดรูปสัญญาณที่จอออสซิลโลสโคปอาศัยหลักการทำงานของ 2ภาคดังนี้
1.การบ่ายเบนสัญญาณทางแนวตั้ง
2.การบ่ายเบนสัญญาณทางแนวนอนการป้อนสัญญาณเข้าที่ชุดแผ่นเพลตบ่ายเบนทั้งแนวตั้งและแนวนอนโดยตรงจะต้องมีค่าแรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก เพื่อให้ลำอิเล็กตรอนเกิดบ่ายเบนไปถึงหน้าจอที่ฉาบด้วยสารเรืองแสง ดังนั้นถ้ากรณีที่สัญญาณเข้าเป็นแรงดันไฟฟ้าต่ำ ก่อนเข้าแผ่นเพลตบ่ายเบนทั้ง 2ชุด โดยการขยายสัญญาณเสียก่อน เรียกว่าวงจรขยายสัญญาณทางแนวตั้งและวงจรขยายสัญญาณทางแนวนอนจะเห็นการแสกนของรูปคลื่นไซน์ที่ป้อนเข้าทางแนวตั้งและรูปคลื่นฟันเลื่อยเข้าทางแนวนอน ภาพที่จะปรากฎจะเป็นการเริ่มต้นสแกนของจุดลำแสงอิเล็กตรอนที่จอหลอดภาพวิ่งจากซ้ายไปขวา เริ่มจากตำแหน่งศูนย์เหมือนกันจนกระทั่งถึงจุดสูงสุดคือเลข8ของสัญญาณคลื่นไซน์และฟันเลื่อย จากนั้นจุดลำแสงอิเล็กตรอนบนจอจะวิ่งกลับจากตำแหน่งขวาสุด(สูงสุด)มายังซ้ายสุด(ต่ำสุด)ด้วยความเร็วที่สูงมากเราจึงเห็นรูปสัญญาณคลื่นไซน์ปรากฎบนหน้าจอ


มัลติมิเตอร์

มัลติมิเตอร์ ถือว่าเป็นเครื่องมือวัดที่จำเป็นสำหรับงานด้านอิเล็คทรอนิกส์ เพราะว่าเป็นเครื่องวัดที่ใช้ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าคือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบหรือการตรวจซ่อมวงจรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องวัดค่าเหล่านั้นทั้งสิ้น มัลติมิเตอร์เป็นการรวมโวลต์มิเตอร์ แอมป์มิเตอร์ และ โอห์มมิเตอร์ ไว้ในตัวเดียวกัน และใช้มูฟเมนต์ตัวเดียว จึงเรียก “VOM” (Volt-Ohm-Milliammeter) นอกจากนี้ VOM ยังสามารถนำไปวัดค่าอื่น ๆ ได้อีก เช่น วัดอัตราการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ วัดค่าความดัง ฯลฯ ปัจจุบันมัลติมิเตอร์มีด้วยกัน 2 แบบคือ แบบเข็มชี้ แบบดิจิตอล
มัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน บางคนชอบแบบเข็มชี้ เพราะว่ามองเห็นการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างชัดเจน ต่างกับแบบดิจิตอลซึ่งตัวเลขจะวิ่ง สังเกตค่าตัวเลขที่แน่นอนได้ยาก ยกเว้น ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ บางรุ่นที่สามารถอ่านค่าตัวเลขออกมาได้ทันที สะดวกสบายไม่ต้องคำนึงถึงขั้วมิเตอร์ว่าวัดถูกหรือผิดเพราะว่ามีเครื่องหมาย บอกให้เสร็จ ส่วนแบบแอนาลอกจะมีปัญหาเรื่องนี้ และการไม่เป็นเชิงเส้นของสเกลด้วย
ส่วนประกอบภายนอกของมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
1.สกรูปรับเข็มชี้ให้ตรงศูนย์
2.ย่านการวัดต่างๆ
3.ขั้วต่อขั้วบวก (+)ใช้ต่อสายวัดสีแดง
4.ขั้วต่อขั้วลบ (-)ใช้ต่อสายวัดสีดำ
5.ขั้วต่อเอาต์พุตเพื่อวัดความดัง
6.ปุ่มปรับ 0โอห์ม
7.สวิตช์ตัวเลือกย่านการวัด
8.เข็มชี้
ส่วนประกอบที่สำคัญของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล
1. จอแสดงผล
2. สวิตซ์เปิด-ปิด
3. สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและช่วงการวัด สามารถเลือกการวัดได้ 8 อย่าง ดังนี้
3.1 DCV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง มี 5 ช่วงการวัด
3.2 ACV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ มี 5 ช่วงการวัด
3.3 DCA สำหรับการวัดปริมาณกระแสตรง มี 3 ช่วงการวัด
3.4 ACA สำหรับการวัดปริมาณกระแสสลับ มี 2 ช่วงการวัด
3.5 สำหรับการวัดความต้านทาน มี 6 ช่วงการวัด
3.6 CX สำหรับการวัดความจุไฟฟ้า มี 5 ช่วงการวัด
3.7 hFE สำหรับการวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
3.8 สำหรับตรวจสอบไดโอด
4. ช่องเสียบสายวัดร่วม ใช้เป็นช่องเสียบร่วมสำหรับการวัดทั้งหมด (ยกเว้นการวัด CX และ hFE ไม่ต้องใช้สายวัด)
5. ช่องเสียบสายวัด mA สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 0-200 mA
6. ช่องเสียบสายวัด 10A สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 200 mA-10A
7. ช่องเสียบสำหรับวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
8. ช่องเสียงสำหรับวัดความจุไฟฟ้า
9. ช่องเสียบสายวัด V


โวลต์มิเตอร์ เครื่องมือวัดไฟฟ้า

โวลต์มิเตอร์ เครื่องมือวัดไฟฟ้า

โวลต์มิเตอร์ คือ เครื่องมือวัดไฟฟ้า ที่ใช้วัดแรงดันไฟฟ้าระหว่างจุด 2จุด ในวงจรความต้านทานภายในของเครื่องโวลต์มิเตอร์มีค่าสูง วิธีใช ้ต้องต่อขนานกับวงจรเครื่องมือที่ใช้วัดค่าความต่างศักย์ในวงจรไฟฟ้า ค่าที่วัดได้มีหน่วย โวลต์ (V) โวลต์มิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ดัดแปลงมากจากแกลแวนอมิเตอร์ โดยต่อความต้านทาน แบบอนุกรม กับแกลแวนอมิเตอร์ และใช้วัดความต่างศักย์ในวงจรโดยต่อแบบขนานกับวงจรที่ต้องการวัด
โวลต์มิเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้วัดแรงดันไฟฟ้า ระหว่างจุดสองจุด ในวงจร ความจริงแล้วโวลต์มิเตอร์ก็คือแอมมิเตอร์นั่นเอง เพราะขณะวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจร หรือแหล่ง จ่ายแรงดันจะต้องมี กระแสไฟฟ้าไหลผ่านมิเตอร์จึงทำให้เข็มมิเตอร์บ่ายเบนไป และการที่กระแสไฟฟ้าจะไหล ผ่าน เข้าโวลต์มิเตอร์ได้ ก็ต้องมี แรงดันไฟฟ้าป้อนเข้ามา นั่นเองกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน กระแสไฟฟ้าไหลได้มากน้อยถ้า จ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้ามาน้อย กระแสไฟฟ้าไหลน้อย เข็มชี้บ่ายเบนไปน้อยถ้าจ่าย แรงดันไฟฟ้าเข้ามามาก กระแสไฟฟ้าไหลมาก เข็มชี้บ่ายเบนไปมาก การวัด แรงดันไฟฟ้าด้วยโวลต์มิเตอร์
โวลต์มิเตอร์สร้างขึ้นมาเพื่อวัดค่าความแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายแรงดัน หรือวัดค่าแรงดันไฟฟ้าตกคร่อม ระหว่างจุดสองจุดในวงจร การวัดแรงดันไฟฟ้าด้วย โวลต์มิเตอร์ เหมือนกับการวัดความดันของน้ำในท่อส่ง น้ำด้วยเกจ วัดความดัน โดยต้องต่อท่อเพิ่มจากท่อเดิมไปยังเกจวัดในทำนองเดียวกัน กับการวัดแรงดันไฟฟ้า ใน วงจร ต้องใช้โวลต์มิเตอร์ไปต่อขนานกับจุดวัดในตำแหน่งที่ต้องการวัด เสมอ