การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

การจัดการเชิงกลยุทธ์

          ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันค่อนข้างสูง  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องอาศัยชั้นเชิงในการบริหารที่เหนือกว่าคู่แข่ง  หรืออาศัยความว่องไวในการปรับตัวให้ทันต่อภาวะการแข่งขันที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 

          การจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้นักบริหารกำหนดทิศทางของธุรกิจ  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ  ช่วยกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์การ  เพื่อที่จะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปประยุกต์ปฏิบัติ  และควบคุมประเมินผลการดำเนินงานขององค์การได้  ทั้งนี้ไม่จำกัดเฉพาะแต่องค์การภาครัฐหรือภาคเอกชนแต่อย่างใด

          กลยุทธ์ขององค์การจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การได้ การทำความเข้าใจและการพยายามศึกษาองค์การที่ประสบผลสำเร็จในการใช้กลยุทธ์เพื่อการจัดการ  จะทำให้นักบริหารได้ทราบถึงคุณประโยชน์ของกลยุทธ์ ที่จะช่วยสนับสนุนองค์การให้ประสบความสำเร็จ และจะต้องมีการพิจารณาเลือกกลยุทธ์และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การ

          การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการบริหารอย่างมีระบบที่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์การเป็นส่วนประกอบ  และอาศัยการวางแผนอย่างมีขั้นตอน  เนื่องจากการบริหารกลยุทธ์เป็นการบริหารองค์รวม  ผู้นำที่มีความสามารถจะต้องอาศัยกลยุทธ์ในการจัดการองค์การที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับองค์การ  และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงไม่ล้มเหลว  เนื่องจากกลยุทธ์ที่ดีแต่ล้มเหลวจะไม่สามารถนำความสำเร็จมาสู่องค์การได้  ดังนั้นทั้งกลยุทธ์และนักบริหารที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์และนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติจึงมีความสำคัญเท่าเทียมกัน

ลักษณะที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์  คือ การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นเครื่องมือของนักบริหารในการบริหารงาน  เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น  การบริหารเชิงกลยุทธ์จะเน้นและให้ความสำคัญต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic decision making) ที่ไม่เหมือนกับการตัดสินใจในลักษณะอื่น ๆ  เพราะการบริหารเชิงกลยุทธ์จะเกี่ยวข้องกับอนาคตในระยะยาวขององค์การทั้งหมด  ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ 

• เป็นกระบวนการของการบริหารองค์การโดยรวม
 เป็นการบริหารที่เน้นการสร้างกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การในระยะยาว 
 เป็นการตัดสินใจที่อาศัยชั้นเชิง  ไม่มีวิธีการที่สำเร็จรูป 
• ต้องอาศัยความร่วมมือ  พันธะผูกพัน (Commitment) และทรัพยากรในองค์การ 
• มีทิศทางที่ชัดเจนต่อทางเลือกต่าง ๆ และแสดงให้ทุกคนในองค์การเข้าใจตรงกัน

ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์

          คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้นมีความหมายที่แตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายคล้ายคลึงกัน ดังนี้

การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นศาสตร์ที่มีมานานโดยคำว่า กลยุทธ์ หรือ Strategic มีที่มาจากคำว่าStrategia  ในภาษากรีกซึ่งหมายความว่า Generalship โดยคำว่ายุทธศาสตร์มักจะถูกนำมาใช้ในด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และการทหาร  และได้เข้าสู่แวดวงการศึกษาในเวลาต่อมา  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ  และต้องการให้เกิดการนำไปสู่การจัดทำนโยบายทางธุรกิจที่นำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานได้ในอนาคต 

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) โดยทั่วไป หมายถึงการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Goal) ขององค์การในระยะสั้นและระยะยาว จากนั้นจึงวางแผนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์การสามารถดำเนินงานตามพันธกิจ  อันนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

          นอกจากนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งอาจก่อให้เกิดโอกาส  หรืออุปสรรคแก่องค์การได้  องค์การจึงจำเป็นต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในขององค์การ เพื่อหาจุดแข็งหรือจุดอ่อนในการที่จะสามารถหลีกเลี่ยงจากอุปสรรคหรือใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่นั้นได้  ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการบริหารโดยคำนึงถึง 

1. ลักษณะการดำเนินงานขององค์การ 
2. ลักษณะธุรกิจในอนาคต
3. สภาพแวดล้อม 
4. การจัดสรรทรัพยากร 
5. การปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ 

แนวคิดที่สำคัญในการจัดการเชิงกลยุทธ์

          แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์ คือการกำหนดภารกิจ  วัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  โดยการจัดการเชิงกลยุทธ์และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว 

          ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  ทั้งนี้เพื่อให้ตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคและบดบังโอกาสในการก้าวหน้าขององค์การได้ 

          ฉะนั้นองค์การจึงต้องพิจารณาถึงจุดแข็งที่มีอยู่แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์  และพิจารณาถึงจุดอ่อนขององค์การเพื่อหาแนวทางขจัดจุดอ่อนเหล่านั้นเสีย
ในแนวคิดด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น จะมีความแตกต่างไปจากการจัดการโดยทั่วไป ซึ่งมักจะศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร  ตามกระบวนการหรือขั้นตอนต่าง ๆและเน้นหนักไปที่การจัดการและการบริหารภายในองค์การ  แต่การจัดการเชิงกลยุทธ์จะให้ความสำคัญกับปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกองค์การ  หรือสภาวะแวดล้อมภายนอกด้านต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน  คำนึงถึงการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  และสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม 

          การจัดการกลยุทธ์ยังคำนึงถึงความความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การ(Stakeholders) และการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงประสานหน่วยต่าง ๆ ในองค์การให้สามารถบริหารจัดการเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การร่วมกัน
หลักการสำคัญของการจัดการเชิงกลยุทธ์

          การจัดการเชิงกลยุทธ์จะนำไปสู่การเพิ่มโอกาสของความสำเร็จและความล้มเหลวขององค์การได้อย่างไรนั้นมีหลักสำคัญดังนี้

          1. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง ภารกิจ และวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจอย่างเป็นระบบ  ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางขององค์การ  และช่วยให้นักบริหารปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  การตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงนั้น  ทำให้นักบริหารสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม  สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงได้

          2. การจัดการเชิงกลยุทธ์ยังนำไปสู่การจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น  เนื่องจากมีการเตรียมรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงไว้แล้ว  ทำให้องค์การค้นหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดต่อองค์การ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง  ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการกำหนดวิธีการหรือแนวทางในการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์การที่ตั้งไว้

          3. การจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นการนำแนวทางในการดำเนินองค์การที่คิดค้นสร้างสรรค์ขึ้น  และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักบริหาร

          4. การวางแผนกลยุทธ์เป็นหน้าที่หลักของนักบริหาร  เนื่องจากต้องวางแผนประยุกต์ใช้  และกำหนดทิศทางในการดำเนินงานขององค์การ  การจัดทำและปฏิบัติให้สอดคล้องตามแผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะในระยะยาว  ดังนั้นความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ของนักบริหาร  และความสามารถในการควบคุมให้การปฏิบัติเป็นไปตามกลยุทธ์ที่วางไว้ได้  จะเป็นสิ่งสะท้อนศักยภาพและและสะท้อนของผู้บริหารได้เป็นอย่างดี

          5. การจัดการเชิงกลยุทธ์ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ  และเสริมสร้างการพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารของนักบริหาร  รวมทั้งช่วยเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรที่อยู่ภายในองค์การ  เนื่องจากการพัฒนาเชิงกลยุทธ์จะต้องมีการสร้างความเข้าใจและแนวทางในการเตรียมพร้อม  เพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นของสภาพแวดล้อมและคู่แข่ง  นอกจากนี้แล้วการจัดการเชิงกลยุทธ์ยังช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในองค์การเข้าใจในภาพรวม  โดยเฉพาะเป้าหมายในการดำเนินงานทำให้สามารถจัดลำดับการดำเนินงานตามลำดับความสำคัญเร่งด่วนได้

          6. การจัดการเชิงกลยุทธ์ช่วยให้การทำงานเกิดความสอดคล้องในการปฏิบัติหน้าที่  เนื่องจากมีการกำหนดกลยุทธ์  การประยุกต์ใช้  และการตรวจสอบควบคุมไว้อย่างชัดเจน  ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดความร่วมมือ  โดยเฉพาะความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์การ  อีกทั้งจะช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการบริหารองค์การในส่วนต่าง ๆ

องค์ประกอบของการจัดการเชิงกลยุทธ์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยพื้นฐาน ประการ คือ
1. การกำหนดทิศทาง (Direction Setting)
2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)
4. การดำเนินกลยุทธ์ (Strategy Implementation)
5. การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control) 


1. กำหนดทิศทาง

          ในการกำหนดทิศทางขององค์การจะประกอบด้วย  การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision ) และการกำหนดภารกิจ ( Mission ) หรือ กรอบในการดำเนินงานที่ชัดเจนจะช่วยให้องค์การสามารถกำหนดทิศทางในระยะยาว  อีกทั้งยังแสดงถึงความตั้งใจในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย

          ภารกิจ (Mission) ในกระบวนการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์นั้น  ขั้นแรกองค์การจะต้องระบุภารกิจและเป้าหมายหลักที่สำคัญของบริษัท  ซึ่งภารกิจ หมายถึง ประกาศหรือข้อความของบริษัทที่พยายามกำหนดว่าจะทำอะไรในปัจจุบัน  และกำลังจะทำอะไรในอนาคตและองค์การเป็นองค์การแบบใด  และจะก้าวไปสู่การเป็นองค์การแบบใดทั้งนี้เพื่อบรรลุสู่ความเป็นเลิศเหนือคู่แข่ง  ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วข้อความเรื่องภารกิจขององค์การจะประกอบไปด้วย  ข้อความที่บ่งบอกถึงคุณค่าทางปรัชญาสำคัญที่ผู้บริหารตัดสินใจกระทำ  ซึ่งแสดงถึงพันธะของบริษัทที่มีต่อเป้าหมายและสอดคล้องกับคุณค่าของผู้บริหาร  นอกจากนี้แล้วภารกิจยังจะสร้างสภาพแวดล้อมในการกำหนดกลยุทธ์อีกด้วย

          เป้าหมาย (Gold) คือการบอกถึงสิ่งที่องค์การปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต  และพยามบรรลุ  โดยมีการกำหนดให้ชัดเจน  กระชับ  ตรงจุด  และสามารรถวัดได้  ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายจะมีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นกว่าการกำหนดภารกิจว่าจะต้องทำสิ่งใด

2. การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)

          ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก  และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง  จุดแข็ง  จุดอ่อน โอกาส  และอุปสรรค  หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S)
การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W)
การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O)
การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T)


2.1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis)

          การวิเคราะห์ภายในขององค์การนั้น  จะทำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ  ช่วยให้ประเมินอดีตและแนวโน้มในปัจจุบัน  การวิเคราะห์ภายในสามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) การวิเคราะห์ (Value chain) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) ซึ่งจะทำให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)

 การวิเคราะห์ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Critical success factor) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์ลักษณะของกิจการ  ตำแหน่งทางการแข่งขัน  สภาพแวดล้อมทั่วไป  และการพัฒนาองค์การ

• การวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม (Value chain) เป็นการพยายามเชื่อมโยงกิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อยขององค์การ  โดยการพยายามจัดกิจกรรมย่อยให้สนับสนุนกิจกรรมหลัก  เพื่อจะสร้างคุณค่าที่สนองตอบกับค่านิยมของลูกค้า  โดยสายงานหลักจะทำหน้าที่ในการผลิตกิจกรรมพื้นฐาน ประกอบไปด้วย  การนำเข้าวัตถุดิบ  การผลิตสินค้าและบริการ  การตลาด  และการให้บริการลูกค้า  ส่วนสายงานสนับสนุนจะทำหน้าที่ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์  การพัฒนาเทคโนโลยี  การการจัดซื้อวัตถุดิบ  เนื่องจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่ค่านิยม  จะทำให้องค์การได้รับรู้ถึงค่านิยมของลูกค้าได้อย่างชัดเจน    ทำให้สามารถวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่านิยมของลูกค้า  เข้าสู่กิจกรรมทุกกิจกรรมขององค์การ

 การวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process) และระบบการดำเนินงาน เป็นกระบวนการสร้างคุณค่าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้จัดหาวัตถุดิบ  องค์การ  และลูกค้าเข้าด้วยกัน  โดยมีกระบวนการหลักขององค์การ  เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ  และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า 

โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือสภาพแวดล้อมภายในนี้จะทำให้ทราบถึงจุดแข็งหรือจุดอ่อนทางธุรกิจขององค์การ

จุดแข็ง : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะเหนือกว่า 
จุดอ่อน : ลักษณะหรือองค์ประกอบขององค์การที่มีสมรรถนะด้อยกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

2.2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)

          สภาพแวดล้อมภายนอกประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทั่วไปและสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน

สภาพแวดล้อมทั่วไป (General Environment) เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความสำคัญ แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การโดยตรงแต่เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป มีตัวแบบในการพิจารณา คือ PEST Environment ได้แก่ 
สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political Environment –P)
สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic Environment –E)
สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Sociological Environment –S)
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology Environment –T)


สภาพแวดล้อมทั่วไปสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การได้ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐออกกฎหมายที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ  ก็จะส่งผลดีต่อโอกาสในการดำเนินงานขององค์การ  หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วอาจส่งผลให้สินค้ามีความล้าสมัยอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

 สภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน (Task Environment) ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.Poter ) ได้เสนอตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน  โดยใช้ตัวแบบที่ชื่อ The Five Compettive Force  ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงสมรรถภาพคู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทราบความต้องการของลูกค้า  สามารถสร้างความร่วมมือกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ  การระมัดระวังไม่ให้ลูกค้าหันไปให้ความสนใจสินค้าทดแทน  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นตัวแบบที่ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่งได้เป็นอย่างดี

• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance) ผู้ที่เข้ามาใหม่มีความมุ่งหวังที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาด  ดังนั้นจึงเป็นภาวะที่คุกคาม  ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปสรรคที่เข้ามาและภาวะการตอบโต้ขององค์การ  โดยสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ที่เข้ามาใหม่ ได้แก่

          Ecomies of Scale ความประหยัดที่เกิดจากการผลิตจำนวนมาก (Economies of Scale) ทำให้คู่แข่งต้องมีการผลิตที่มีขนาดใหญ่พอ  จึงจะสามารถต่อสู้กับกิจการเดิมได้

          ความแตกต่างของสินค้า Differentiation หรือ ขนาดของทุน Capital Requirement  เนื่องจากผู้ที่เข้ามาใหม่จะต้องแบกภาระต้นทุนที่สูงมากในด้านต่าง ๆ เป็นต้น  เหล่านี้เป็นตัวอย่างของอุปสรรคสำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่  ซึ่งนักบริหารจะต้องสร้างภาวะการตอบโต้  โดยอาศัยความได้เปรียบด้านอุปสรรคของผู้เข้ามาใหม่ในด้านต่าง ๆ

 การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้บริหารในองค์การภาครัฐ และภาคเอกชน  จะต้องให้ความสำคัญกับลูกค้า เนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับอำนาจการต่อรองของลูกค้า  ในเรื่องของปริมาณ  คุณภาพ  และราคา

 การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) ผู้จัดส่งวัตถุดิบจะมีความสำคัญเนื่องจากองค์การจะต้องเผชิญกับพลังการต่อรองของผู้จัดส่งวัตถุดิบเช่นเดียวกับลูกค้า  ดังนั้นผู้บริหารทั้งองค์การภาครัฐและองค์การภาคเอกชน  จะต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรับกับพลังการต่อรองนั้น

 การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute) การมีสินค้าหรือบริการทดแทนทำให้องค์การต่าง ๆ จะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า  ราคา  และบริการที่นำเสนอให้กับลูกค้า  เนื่องจากการละเลยความสำคัญดังกล่าวจะทำให้องค์การเสียเปรียบต่อคู่แข่งได้

 การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival) คู่แข่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่นักบริหารจะต้องคำนึงถึง   เนื่องจากนักบริหารจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง  การละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญกับคู่แข่งจะหมายถึงความพ่ายแพ้

โดยสรุปแล้วการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมภายนอกนี้จะทำให้ทราบถึงโอกาสหรืออุปสรรคทางธุรกิจขององค์การ

โอกาส การผสมผสานระหว่างเหตุการณ์ เวลา สถานที่ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การ มาทำให้องค์การมีสมรรถนะที่จะดำเนินการบางอย่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
อุปสรรค : เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และถ้าเกิดขึ้นก็จะทำความเสียหายให้แก่องค์การ

3. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy Formulation)

          การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการพัฒนาแผนระยะยาวบนรากฐานของโอกาสและอุปสรรค  ที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก  และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนที่ได้จาการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน  โดยองค์การจะต้องกำหนดและเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับองค์การที่สุด  ผู้บริหารต้องพยายามตอบคำถามว่าทำอย่างไรองค์การจึงจะไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ได้  โดยใช้ความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การกำหนดเป็นกลยุทธ์  ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ด้วย ซึ่งมีทั้งสิ้น ระดับ คือ

กลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate Strategy)

          เป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมและบ่งบอกถึงกลยุทธ์โดยรวม  และทิศทางในการแข่งขันขององค์การว่า องค์การจะมีการพัฒนาไปสู่ทิศทางใด  จะดำเนินงานอย่างไร และจะจัดสรรทรัพยากรไปยังแต่ละหน่วยขององค์การอย่างไร  เช่น  การดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร  การขยายตัวไปในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เป็นต้น ตัวอย่างเครื่องมือ (Tools) ที่ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ในระดับองค์การ เช่น Boston Consulting Group Matrix, McKinsey 7 - S Framework เป็นต้น

กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy)

          เป็นการกำหนดกลยุทธ์ในระดับที่ย่อยลงไป  จะมุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันขององค์การกับคู่แข่ง และระบุถึงวิธีการที่องค์การจะใช้ในการแข่งขัน  มุ่งปรับปรุงฐานะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น  โดยอาจรวมกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันไว้ด้วยกัน ภายในหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Business Unit - SBU) เดียวกัน  กลยุทธ์ระดับธุรกิจของ SBU นี้จะมุ่งการเพิ่มกำไร (Improving Profitability)  และขยายการเติบโต (Growth) ให้มากขึ้น  บางครั้งจึงเรียกกลยุทธ์ในระดับนี้ว่ากลยุทธ์การแข่งขัน (Competitive Strategy)  ซึ่งโดยทั่วไปจะมีอยู่ กลยุทธ์ คือ การเป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ (Cost Leadership) การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และ การจำกัดขอบเขตหรือการมุ่งเน้นหรือการรวมศูนย์ (Focus Strategy) 

กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Operational Strategy)

          เป็นการกำหนดกลยุทธ์ที่ครอบคลุมวิธีการในการแข่งขัน  แก่ผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงาน (Function)ต่าง ๆ   มุ่งเน้นให้แผนกงานตามหน้าที่พัฒนากลยุทธ์ขึ้นมา  โดยอยู่ภายใต้กรอบของกลยุทธ์ระดับองค์การและกลยุทธ์ระดับธุรกิจ เช่น  แผนการผลิต  แผนการตลาด  แผนการดำเนินงานทั่วไป  แผนการด้านทรัพยากรบุคคล  แผนการเงิน เป็นต้น 

Michel Robert ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์ไว้ในหนังสือ e-Strategy ที่อาจแตกต่างไปจากทั่ว ๆ ไปว่า  ขั้นตอนในการสร้างกลยุทธ์จะอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด What you do best  แต่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่คู่แข่งขันของเราทำอยู่ (Not what the others do) ซึ่งแนวคิดนี้ใช้ได้ดีทั้งธุรกิจการผลิตและธุรกิจการบริการ โดยมีขั้นตอน ขั้นตอน คือ

1. ระบุแรงขับดัน (Driving Force) ขององค์การ  ที่สามารถช่วยให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน  ซึ่งเกี่ยวข้องกับจุดแข็งที่องค์การมีอยู่ เช่น การที่องค์การมีเทคโนโลยีที่แตกต่าง  องค์การสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำสำคัญในการดำเนินงานได้ เป็นต้น

2. สร้างกรอบแนวคิดทางธุรกิจ (Business Concept) อย่างสั้น ๆ   เพื่อแสดงว่าจะใช้แรงขับดันนั้นอย่างไร เช่น จะใช้เทคโนโลยีนั้นผลิตสินค้าอะไร  จะเจาะจงขายยังภูมิภาคใด 

3. ระบุความเชี่ยวชาญขององค์การ (Area of Excellence) ที่เราต้องการ  เพื่อนำมาใช้สนับสนุนกลยุทธ์ เช่น  อาจจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น  หรือการสร้างความชำนาญในการขายและบริการแก่พนักงานขาย เป็นต้น

4. ระบุประเด็นสำคัญ (Critical Issues) หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีความสำคัญ  ที่อาจจะต้องถูกปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง  เพื่อให้เอื้อต่อการนำกลยุทธ์ไปดำเนินการ เช่น โครงสร้าง (Structure) กระบวนการหรือระบบ (Process/System) ทักษะและความสามารถ (Skills/Competencies) ระบบการให้ผลตอบแทน (Compensation) เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าจะมีทฤษฎีที่ว่าด้วยกลยุทธ์ที่สามารถนำมาพิจารณาใช้ได้มากมาย   แต่ย่อมไม่มีทฤษฎีหรือแนวทางจัดการใดใช้ได้กับทุกสถานการณ์  ดังนั้นจึงไม่มีสูตรสำเร็จในการกำหนดกลยุทธ์และสร้างกลยุทธ์ที่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ แต่อย่างน้อยในการกำหนด กลยุทธ์นั้นควรจะได้พิจารณาเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบด้วย เช่น 

เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และวัตถุประสงค์ในระยะยาว
เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น  เหมาะสม
เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้

4. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation)

การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ คือกระบวนการที่ผู้บริหารแปลงกลยุทธ์และนโยบาย  ไปสู่แผนการดำเนินงาน กำหนดรายละเอียดด้านต่าง ๆ เช่น ด้านงบประมาณ  หรือวิธีการดำเนินงาน  ซึ่งกระบวนการนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภายในด้านวัฒนธรรม   โครงสร้าง  หรือระบบการบริหาร  เพื่อให้สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วย องค์ประกอบ คือ

1. ขั้นตอนของการกำหนดแผนและการจัดสรรทรัพยากร (Resources Allocation)

2. ขั้นตอนของการปรับโครงสร้างองค์การ  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการใช้กลยุทธ์และการใช้ทรัพยากร เป็นต้น

3. ขั้นตอนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในส่วนของระบบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เช่น เรื่องระบบข้อมูลข่าวสาร  ระบบบริหารบุคคล (การให้การศึกษา  การให้การอบรม  การกระตุ้น  ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ) เป็นต้น

4. การกระจายกลยุทธ์ (Strategic Deployment) หากองค์การมีการสร้างวิสัยทัศน์ สร้างพันธกิจขึ้นมาแล้ว แต่ไม่ได้มีการดำเนินการก็จะทำให้เกิดการสูญเปล่า (Waste) ได้  เพราะแม้ว่าแผนเหล่านั้นจะเป็นแผนงานที่ถูกจัดทำมาอย่างดี  ผ่านการระดมความคิดมาอย่างเข้มข้นเพียงใดก็ตาม  หากไม่ลงมือปฏิบัติก็ย่อมไม่เกิดผลเป็นรูปธรรมขึ้น 

          ดังนั้นเพื่อทำให้เกิดผลจึงจำเป็นต้องมีการกระจายแผนไปยังทุก ๆ ส่วนทั่วทั้งองค์การ  โดยต้องสอดประสานกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน  และเข้าใจได้  ซึ่งจากเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic goals) อาจถูกแปลงเป็นเป้าหมายย่อย (Sub-goals) กำหนดเป็นเป้าหมายประจำปี (Annual goals) จากนั้นจะแตกไปเป็นเป้าหมายของแต่ละกลุ่ม แต่ละโครงการ 

          เพื่อให้ทราบว่า เป้าหมายของตนเองที่ชัดเจนนั้นคืออะไร  และควรจะดำเนินการที่เรื่องใดก่อน  ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับล่างสุดเข้าใจเป้าหมายที่ไม่คลาดเคลื่อนแล้ว  ยังมีประโยชน์ต่อกระบวนการในการวัดผลที่เหมาะสมด้วย  ทั้งยังช่วยให้มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมพอดี  เพียงเพื่อให้บรรลุผลในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละโครงการ นั่นเอง

          ความสำเร็จขององค์การนั้นเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในการนำกลยุทธ์ไปประยุกต์ปฏิบัติ  ทั้งนี้ผู้บริหารควรมีการมอบหมาย  และกำหนดแนวทางหรือวิธีการในการปฏิบัติงาน  สิ่งที่สำคัญในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จนั้น  ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความรู้  ความเข้าใจ  และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้ 

5. การประเมินผลและการควบคุม (Evaluation and Control)

          การควบคุมกลยุทธ์ เป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม  ตรวจสอบ ประเมินผลกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ  ทั้งนี้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องการการปรับปรุง  เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์นั้นจะก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ตรงตามแผนที่ได้ตั้งไว้ 

          การตรวจสอบกลยุทธ์ (Strategic Control) จะมีการวัดผลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  มีการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐาน  โดยมาตรวัดการดำเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การ  ซึ่งในแต่ละองค์การจะมาตรฐานและเกณฑ์การดำเนินงานของตนเอง ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานควรมีความระมัดระวังเพื่อให้สามารถสะท้อนผลการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

          ในการติดตาม  ควบคุม  และประเมินผลนั้น  จำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลแผนกลยุทธ์โดยเฉพาะ  ซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่มีความรับผิดชอบเต็มเวลาที่สามารถทุ่มเทให้กับการติดตามและประเมินผลได้อย่างเต็มที่  หน่วยงานนี้ควรอยู่กับฝ่ายวางแผนที่มีผู้บริหารในฝ่ายอยู่ในระดับผู้บริหารชั้นสูง อย่างไรก็ตามในการดำเนินกลยุทธ์นั้น  จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่ายตลอดเวลา  จึงอาจมีความจำเป็นในการตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนกลยุทธ์  ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับบริหารจากฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นร่วมด้วย

โครงงาน


















































วิทยาศาสตร์การกีฬา

ความเป็นมาของวิทยาศาสตร์การกีฬา
วิทยาศาสตร์การกีฬา  เป็นศาสตร์ที่ได้รับความสนใจ          มาประมาณ 90 ปี มาแล้ว
สาเหตุที่นำมาใช้  เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการกีฬา

นำมาใช้ในการ  ปรับปวิทยาศาสตร์การกีฬาเริ่มต้นมาจากการพัฒนาทางด้านพลศึกษา
1. เริ่มต้นจากชาวกรีกโบราณมีความเชื่อว่า  การพลศึกษาและการออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ร่างกายมีความแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดี
1.1  เยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนในสถานศึกษาเรียกว่า พาเรสตา
1.2  ครูพลศึกษาที่ทำหน้าที่สอน เรียกว่า ไพโดไทรป์
             1.3  เมื่อเด็กและเยาวชนมีอายุ 14-16 ปีก็จะได้เรียนในสถานพลศึกษา        เรียกว่า ยิมเนเซียม กิจกรรมสำคัญ  เช่น  การขี่ม้า การวิ่งแข่งขัน              ล่าสัตว์ และอื่น ๆ เพื่อให้เยาวชนมีสุขภาพแข็งแรงรุงท่าทาง  ทักษะกีฬา  และสมรรถภาพทางกาย เพื่อให้มีสมรรถภาพดีขึ้น
2. กีฬาโอลิมปิกเริ่มจากชาวกรีกเริ่มเมื่อ 776  ปีก่อนคริสต์ศักราช และถูกยกเลิกโดยกษัตริย์โรมัน  เมื่อ ค.ศ. 394  และเริ่มใหม่             ปี ค.ศ. 1986   โดย เบียร์  เดอร์  คูแบร์  แดง
3. สมัยโรมัน มีความเชื่อในเรื่อง ผลของการออกกำลังกาย ว่า    “ออกกำลังกายแล้วจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงมีสุขภาพดี”
4. ในยุโรปได้มีการส่งเสริมให้มีการออกกำลังกาย และมีการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา  เช่น  ประเทศเยอรมัน ได้นำกิจกรรม   การออกกำลังกายและกิจกรรมพลศึกษาต่างๆ เข้ามาใช้                  จัดการเรียนการสอน  เช่น  การเต้นรำ  การขี่ม้า  การฟันดาบ   การกระโดด การว่ายน้ำ  เป็นต้น
5.  พบว่า วิทยาศาสตร์การกีฬาในระยะต้น รู้จักเพียงว่า                       การออกกำลังกาย  หรือ  การพลศึกษามีผลต่อร่างกาย เท่านั้น   โดยจากการสังเกตหรือประสบการณ์ที่ผ่านมายังไม่มีการพิสูจน์ให้รู้ว่าเพราะเหตุใด  การออกกำลังกายแล้วจึงมีผลเช่นนั้น         เช่น  รู้ว่าออกกำลังกายแล้วทำให้กล้ามเนื้อโตขึ้น 
 ความเป็นมา...วิทยาศาสตร์การกีฬาในประเทศไทย
1.พ.ศ. 2441  รัชกาลที่  5  ได้ประกาศโครงการศึกษาฉบับแรกขึ้นมา และบรรจุวิชา ฝึกหัดร่างกาย ไว้ในหลักสูตรการเรียน
2.พ.ศ. 2456  จัดตั้ง ห้องพลศึกษากลางขึ้น เพื่อฝึกหัดครูพลศึกษา ไปทำหน้าที่สอนพลศึกษาและการออกกำลังกายแก่นักเรียนในโรงเรียน  โดยมี หลวงเชษฐ พลศิลป์ (หม่อมหลวงเล็ก อิศรางกูล)                             เป็นผู้อำนวยการ
3.พ.ศ. 2475  มีการจัดการศึกษาเป็น 3 องค์ คือ พุทธิศึกษา                จริยศึกษา  และพลศึกษา
4.พ.ศ. 2476  ได้ตั้งกรมพลศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ                   ทำหน้าที่ดูแล
5.พ.ศ. 2493 วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และได้ปรับปรุงหลักสูตรฝึกหัดครูพลศึกษา
ความหมายวิทยาศาสตร์การกีฬา
  วิทยาศาสตร์การกีฬา = วิทยาศาสตร์ + การกีฬา
  วิทยาศาสตร์  หมายถึง  ความรู้ที่ได้จากการสังเกต    การค้นคว้าจากการประจักษ์ทางธรรมชาติ  แล้วจัด       เข้าเป็นระเบียบ  หรือวิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผล  แล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ
  กีฬา  หมายถึง  กิจกรรม  หรือ  การเล่น  เพื่อความสนุก  เพลิดเพลิน  เพื่อเป็นการบำรุงแรง  หรือเพื่อผ่อนคลายความเครียดทางจิต
การออกกำลังกาย (Exercise) เป็นกิจกรรมที่ใช้แรงกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์  แข็งแรง โดยใช้กิจกรรมเป็นสื่อ เช่น กายบริหาร การเดิน การวิ่ง เพื่อให้ อารมณ์ จิตใจแจ่มใส มีบุคลิกภาพดีและรูปร่างสง่างาม
วิทยาศาสตร์การกีฬา  หมายถึง  การนำความรู้            ที่ได้โดยการสังเกต  ค้นคว้าหลักฐาน  และเหตุผล  มาใช้กับกิจกรรมการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกาย  เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และคุณประโยชน์         ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ  ทั้งทางด้านร่างกาย     และจิตใจ

สุนทรียภาพของชีวิต

หน่วยการเรียนที่ 1
 สุนทรียศาสตร์  และสุนทรียภาพ
1.1   ความหมายของสุนทรียศาสตร์และสุนทรียภาพ
มีผู้ให้คำนิยามความหมายของสุนทรียศาสตร์ไว้หลายความหมายตัวอย่างคำนิยามที่เข้าใจได้ ง่าย ๆ  มีดังต่อไปนี้
1.1.1 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน  2532  ได้ให้ความหมายว่า  สุนทรียศาสตร์เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง  ที่ว่าด้วยความงามและสิ่งที่งามทั้งในงานศิลปะทั้งในธรรมชาติ  โดยศึกษาประสบการณ์  คุณค่าความงามและมาตรฐานในการวินิจฉัยว่า  อะไรงามอะไรไม่งาม
1.1.2 กีรติ  บุญเจือ (2522 : 268)  ให้ความหมายไว้ว่า  สุนทรียศาสตร์เป็นวิชาว่าด้วยสิ่งที่สวยงามหรือไพเราะเพราะพริ้ง
1.1.3  สุชาติ  สุทธิ  (2542 : 8)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  สุนทรียศาสตร์มาจากความหมายดั้งเดิมสมัยกรีกโบราณคือ  Aisthenathai   ซึ่งหมายถึงการรับรู้อย่างหนึ่งและสิ่งที่รับรู้อีกอย่างหนึ่ง  ทั้งสองอย่างรวมกันเป็นคำเดียวคือ  Aithetiko  หมายถึง  สิ่งที่เกี่ยวกับความรู้สึกรับรู้
จะเห็นได้ว่าความหมายของสุนทรียศาสตร์ทั้ง  3  ความหมายดังกล่าว  ล้วนเกี่ยวข้องกับคุณค่าทางการรับรู้เกี่ยวกับความงามและความไพเราะ  คำว่าสุนทรียศาสตร์ [Aesthetics]  เป็นคำนาม  หมายถึง  วิชาว่าด้วยความงาม  ถ้าต้องการใช้เป็นคำคุณศัพท์  จะเขียนว่า  สุนทรียภาพ [Aesthetic]  หมายถึง  ความรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่งาม  รวมถึงความไพเราะของเสียง  และความงดงามของท่าทางการเคลื่อนไหว
 1.2 สุนทรียศาสตร์กับความเป็นมนุษย์
 มนุษย์และสัตว์มีอวัยวะหลาย ๆ อย่างที่เหมือนกัน  จนถึงบางครั้งเรามักจะเรียกพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่มนุษย์แสดงออกมาว่าเป็นสัญชาติญาณสัตว์สิ่งเดียวที่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ได้ชัดเจนก็คือ  มนุษย์มีสมองที่สามารถคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาการทางความคิด  การกระทำให้เกิดเป็นแบบแผนที่ดีขึ้นตามลำดับ  มนุษย์รู้จักวางมาตรฐานความดีและความชั่ว  มนุษย์รู้จักแยกแยะอะไรงามอะไรน่าเกลียด  และมนุษย์รู้จักคิดโดยใช้เหตุใช้ผล  ดังนั้นความคิดของมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษา
1.2.1       มนุษย์กับความคิด
โดยธรรมชาติมนุษย์ทุกคนมีความอยากรู้อยากเห็น และความสงสัยในความเป็นไปของชีวิตและธรรมชาติ    ปัญหาต่าง ๆ   ที่มนุษย์ได้พยายามหาคำตอบ    บางปัญหาสามารถอธิบายได้ชัดแจ้ง    แต่ก็ยังมีอีกหลายปัญหา  ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้  บางปัญหาแม้จะตอบได้แต่ก็ยังมีข้อสงสัยเหลืออยู่โดยธรรมชาติมนุษย์ช่างคิดช่างสงสัย  เราสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์โลกทั่วไปได้  มนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักใช้ความคิด     และมีสติปัญญา   ความคิดและสติปัญญาจะนำไปสู่การปฏิบัติ    การสร้างสรรค์  อันเป็นพัฒนาการสำคัญของสังคมที่นำมาซึ่งการเจริญรุ่งเรืองอย่างทุกวันนี้  ความสงสัยของมนุษย์เกี่ยวกับชีวิตและธรรมชาติแวดล้อม  ก่อให้เกิดคำถามว่า  ความจริงคืออะไร
            ความจริง  (The  Reality)  ในที่นี้หมายสิ่งที่เป็นนิรันดร์  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง    ร่างกายของคน  ในทัศนะของนักปรัชญานั้นร่างกายของคนไม่ใช่ความจริง  เพราะมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เด็กจน     เติบใหญ่  จนแก่เฒ่าชราและตายไป  การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นถ้าจะถามว่า  อะไรคือแก่นแท้  หรืออะไรคือความจริงของชีวิตเรา  อาจตอบได้  3  ทัศนะ  คือ
ก.         จิตนิยม  เชื่อว่า  ความจริงคือจิตหรือวิญญาณ      ร่างกายคนประกอบด้วย    เนื้อหนังและจิตวิญญาณ  ร่างกายเนื้อหนังจะเปลี่ยนแปลงเติบโต  พัฒนาและเสื่อมโทรม  เมื่อตายไปก็จะสลายตัวหรือเปลี่ยนแปลงไป  ส่วนที่เป็นอมตะ   นิรันดร์กาลคือ  จิต  หรือวิญญาณของมนุษย์  ดังนั้นสิ่งจริงแท้ของชีวิตคือจิต  หรือวิญญาณนั่นเอง  พวกจิตนิยมเชื่อว่า  พระเจ้ามีจริง  พระเจ้าคือจิตดวงใหญ่  ที่ให้กำเนิดดวงจิตหรือชีวิตมนุษย์  พระเจ้าสร้างมนุษย์  พระเจ้าสร้างโลก  พระเจ้าสร้างจักรวาล
ข.    วัตถุนิยม เชื่อว่า  ร่างกายของคนคือเซลล์เล็ก ๆ  ที่ประกอบเป็นเนื้อหนังมังสา เป็นอวัยวะต่าง ๆ  ร่างกายคือ     เครื่องจักรที่สามารถทำงานด้วยระบบกลไกของอวัยวะ  ไม่มีจิตวิญญาณ  การตายคือ  การที่เครื่องจักรไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป   เป็นการเน่าสลายของเนื้อหนังจนกลายเป็นธาตุธุลีวัตถุ  กลายเป็นอะตอมหรือพลังงานซึ่งคือสิ่งที่เป็นนิรันดร์  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกต่อไป  พวกวัตถุนิยมเชื่อว่า  สิ่งจริงแท้ของชีวิตและจักรวาลล้วนเป็นวัตถุเพียงอย่างเดียว  ไม่มีพระเจ้า  ไม่มีสวรรค์  ไม่มีนรก  ชีวิต  โลก  และจักรวาลกำเนิดขึ้นตามอุบัติการของธรรมชาติ
ค.    ทวินิยม  เป็นทัศนะที่ประนีประนอมทัศนะจิตนิยมกับวัตถุนิยมไว้ด้วยกัน  เชื่อว่าถึงแม้ความคิดของมนุษย์จะแบ่งเป็นสองขั้วสองฝ่ายก็ตาม  แต่ก็ยังสามารถประสานความคิดทั้งสองฝ่ายได้  ทัศนะนี้เชื่อว่าความจริงคือทั้งสองอย่าง  ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ  ร่างกายและจิตคือสิ่งจริงแท้
1.2.2       คุณค่าความเป็นมนุษย์
การที่มนุษย์ได้หาคำตอบจากปัญหาที่ว่า  ความจริงคืออะไร  ไม่ว่าจะเป็นทัศนะของจิตนิยม  หรือวัตถุนิยม     ทุกคำตอบต่างก็มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การดำรงอยู่ของชีวิต    ซึ่งเป็นความเชื่อเบื้องต้นที่กำหนดบทบาททางพฤติกรรมและความประพฤติของคนเราให้อยู่ในแนวทางหรือมาตรฐานเดียวกัน เช่น คนที่เชื่อว่าความจริงขึ้นอยู่กับจิต  พระเจ้ามีจริง  พระเจ้าสร้างมนุษย์    มนุษย์ต้องแสดงความเคารพนับถือต่อพระเจ้า ก็จะสร้างวิหารเพื่อเป็นที่สิงสถิตย์หรือเป็นที่กราบไหว้บูชาพระเจ้า เกิดพิธีกรรมต่าง ๆ เกิดการเริงระบำเพื่อบูชาถวายพระเจ้า เกิดดนตรีเพื่อสวดสรรเสริญพระเจ้า เกิดการเสริมแต่งเพื่อให้เกิดสิ่งสวย ๆ งาม ๆ เพื่อเสริมพิธีกรรมให้ดูดี   ดูขลัง     และมีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับความดีให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับความเชื่อของตน สิ่งเหล่านี้คือข้อกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์  มาตรฐานทางพฤติกรรมที่ดี ย่อมนำมาซึ่งการพัฒนาสังคม   ทำให้สังคมอยู่ได้อย่างปกติสุข  สำหรับคนที่เชื่อว่าความจริงขึ้นอยู่กับวัตถุ  จะมีมาตรฐานควบคุมพฤติกรรมของคนโดยใช้หลักกฎหมาย        และจะให้ความสำคัญต่อความเจริญ ความสมบูรณ์พูนสุขในโลกปัจจุบัน    ด้วยเหตุนี้  คุณค่าของความเป็นมนุษย์   จึงควรมีมาตรฐานอย่างน้อย 3  ด้าน  คือ
1)    จริยศาสตร์[Ethics] เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ทาง จริยธรรม จริยศาสตร์  เป็นศาสตร์ว่าด้วยมาตรฐาน  การกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์  ว่าอย่างไรคือความดี  อย่างไรคือความชั่ว  คุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ได้รับการยกย่องประการแรกก็คือ  ความดี 
2)    สุนทรียศาสตร์  [Aesthetics ]        เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการรับรู้ความงาม        เป็นคุณค่าอีกอย่างหนึ่ง   ซึ่งแตกต่างจากความดี   คุณค่าทางความงามเป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดจากการสัมผัส  เช่น เมื่อเราเห็นภาพดวงอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้าระหว่างขอบน้ำทะเลยามเย็น เราจะมองเห็นความงาม ความงามจะทำให้เราเกิดความพอใจ    ความยินดีหรือความสุข    เมื่อเราสัมผัสกับสิ่งสวยงามทำให้เราสามารถแยกแยะวัตถุที่มีความงามว่ามีความโดดเด่น      หรือแตกต่างจากวัตถุธรรมดาทั่วไปได้    ทำให้เราเข้าใจว่าอะไรทำให้เกิดความงดงาม  เราก็อาจนำความเข้าใจนั้นมาเป็นหลักการสร้างความงามหรือสร้างสรรค์งานศิลปะขึ้นมา
สิ่งสวยงามคือคุณค่าของความเป็นมนุษย์อีกประการหนึ่งที่เราจะละเลยไม่ได้  ถึงแม้มนุษย์จะประกอบคุณงามความดีเพียงใด  แต่ถ้าเป็นคนที่มีรูปร่างหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่  เนื้อตัวเสื้อผ้าสกปรก  ก็ยังคงเป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป   ดังนั้น    การแต่งกาย      การปรุงเเต่งบุคลิกหน้าตา  จึงเป็นปัจจัยในคุณค่าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในความเป็นมนุษย์  พิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาเป็นกิจกรรมต้องการปรุงแต่งให้เกิดความงาม  วิหารของเทพเจ้าย่อมต้องการความงามกว่าบ้านธรรมดา  เพลงสวดเพื่อสรรเสริญเทพเจ้าต่างๆ  ย่อมต้องมีความไพเราะเสนาะหู  คุณค่าทางด้านความงามดังกล่าวนี้เราเรียกว่า  สุนทรียภาพ  ในทางปรัชญาเรียกว่า  สุนทรียศาสตร์
           3) ตรรกศาสตร์ [Logics] คือมาตรฐานทางคุณค่าส่วนที่จะเสริมให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ขึ้นเป็นคุณค่าทางปัญญา   ความคิด  กล่าวคือ  นอกเหนือจากมาตรฐานทั้ง 2 ด้านดังกล่าวมนุษย์ยังต้องมีความคิดและวิจารณญาณที่ดี  รู้จักใช้เหตุใช้ผล  ไม่หลงงมงาย  มีสามัญสำนึกที่ดี  มีโลกทัศน์ที่ดี  และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลศาสตร์ว่าด้วยความคิด





                                             หน่วยการเรียนที่ 2

                             สุนทรียศาสตร์เชิงความคิดและเชิงพฤติกรรม


2.1       สุนทรียศาสตร์เชิงความคิด
ความเข้าใจในเรื่องเพศ   ความรัก  ความงาม  เป็นสัญชาตญาณเบื้องต้นของคนและสัตว์ทั่วไป     เราสามารถสังเกตได้จากสัตว์ประเภทนกบางชนิด    เช่น    นกยูง    เมื่อถึงฤดูสืบพันธุ์    ตัวผู้จะเริ่มมีขนปีกขนหางที่สวยงามกางปีกรำแพนหาง   พร้อมกับส่งเสียงขันเจื้อยแจ้วเพื่อดึงดูดความสนใจ  จากตัวเมีย  ลักษณะเหล่านี้เกิดขึ้นในทำนองเดียวกันกับสัตว์อื่น ๆ อีกหลายชนิด   กล่าวได้ว่า   แท้ที่จริง    ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ทั่วไป  ย่อมพอใจยินดีกับสิ่งที่สวยงาม  สิ่งที่ไพเราะเพราะพริ้งมาโดยกำเนิดการศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับศาสตร์ที่ว่าด้วยความงามจึงไม่ใช่เรื่องยาก    เพราะเราเข้าใจในความงามเป็นพื้นฐานของชีวิตอยู่แล้ว  การเข้าใจลักษณะนี้เป็นความเข้าใจในสุนทรียศาสตร์หรือการเข้าถึงความงาม   ด้วยวิธีการคิดเป็นเหตุและผล 
2.1.1       สุนทรียศาสตร์เชิงความคิดเเนวตะวันตก
ถ้าจะตั้งคำถามว่า   สิ่งแท้จริงของความงามอยู่ที่ใด  เช่น  เมื่อมองเห็นดอกไม้งาม  ถ้าจะถามว่า  ความงามอยู่ที่กลีบ  อยู่ที่สี  อยู่ที่ช่อหรืออยู่ที่ใบ  หรือว่าอยู่ในใจของเรา  ปริศนาคำถามเหล่านี้  ย่อมต้องการคำอธิบายมากมาย  นักปรัชญาตะวันตกได้มีข้อถกเถียงโต้แย้งในเรื่องแก่นแท้ของความงามมาหลายศตวรรษมาแล้ว  แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปหรือคำตอบเป็นที่น่าพอใจ  ก็พอที่จะสรุปความคิดได้  2  ทัศนะคือ
1) ปรนัยนิยม [Objiectivism]  เป็นทัศนะที่อธิบายว่า  ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ  ความงามอาจเกิดจากรูปร่าง  ทรวดทรง  สีสันของวัตถุ  แบบแผนลีลาการเคลื่อนไหว  หรือเกิดจากความประสานไพเราะของเสียง  วัตถุที่มีความงาม  การเคลื่อนไหวที่งดงาม  หรือเสียงที่ไพเราะย่อมเกิดจากปัจจัยคุณสมบัติภายนอก  คือ  ตัววัตถุ  ซึ่งตรงกับคุณสมบัติของความงามอยู่ในตัว  ความงามเเละความไพเราะและลีลาการเคลื่อนไหวที่งดงามจะต้องมีมาตรฐานของตัวเอง
2) อัตนัยนิยม [Subjectivism]  เป็นทัศนะที่คิดว่า   ความงามเป็นเรื่องความรู้สึกอยู่ในใจของคน  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุสิ่งของที่เรามองเห็นหรือสิ่งที่เราได้ยิน  ใจของเราเป็นตัวกำหนดว่า  สิ่งที่เรามองเห็นงามหรือไม่งาม  เสียงที่เราได้ยินไพเราะ  หรือไม่ ทุกอย่างล้วนเกิดความคิดในใจ จากความรู้สึกภายในทั้งสิ้น วัตถุชนิดเดียวกันคนหนึ่งอาจเห็นว่างาม   แต่อีกคนอาจเห็นว่าไม่งามก็ได้     เช่นเดียวกับการฟังเพลงเดียวกัน คนหนึ่งบอกว่าไพเราะแต่อีกคนบอกว่าไม่ไพเราะ     ซึ่งการมองเห็นหรือการได้ยินของบุคคลทั้งสองถือว่าถูกทั้งคู่ ความงามจึงไม่มีมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่แน่นอนขึ้นจากความคิดความรู้สึกของผู้ที่สัมผัสเป็นหลัก



2.1.2       สุนทรียศาสตร์เชิงความคิดแนวตะวันออก
โดยพื้นฐานทางความคิดของนักปรัชญาตะวันออกจะแตกต่างจากตะวันตก  ชาวตะวันออกมักมองสิ่งต่างๆเป็นองค์รวม ไม่นิยมมองแบบแยกส่วนย่อยๆ อย่างชาวตะวันตก พื้นฐานความคิดของชาวตะวันออกจะมีรากเหง้ามาจากปรัชญาของลัทธิพราหมณ์  ซึ่งสนใจองค์รวมของส่วนประกอบของสื่อที่จะทำให้เกิดความงามสื่อดังกล่าวได้แก่
วัตถุ  คือ  สิ่งที่สามารถสัมผัสจับต้องได้  ในที่นี้รวมถึงกริยา  อาการ  และเสียงที่เราสัมผัสด้วย
ความงาม  คือ คุณค่าที่แฝงอยู่ในตัววัตถุสามารถสัมผัสได้จากวัตถุที่มีความงาม  เสียงที่ไพเราะ  หรือกริยาท่าทางการเคลื่อนไหว  ที่มีลีลาน่าดูน่าชม
มนุษย์  คือ  ผู้รับสื่อ  อันได้แก่วัตถุหรือเสียงที่มีความงามหรือความไพเราะ  ถ้าไม่มีผู้รับสื่อก็ไม่อาจรู้ได้ว่ามีความงามอยู่
รสนิยม  คือ  ความสามารถในการรับรู้สามารถ แยกแยะระดับความงามความไพเราะได้ เช่น จิตรกรสามารถรับรู้ความงามของดวงอาทิตย์ตกดิน หรือ คีตกวีสามารถรับรู้ความไพเราะของเสียงลมพัดที่ประสานกับเสียงนกร้อง  เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าตามความคิดเกี่ยวกับความงามแนวตะวันออก  เห็นว่า  ความงามและความไพเราะนั้น  จะเกิดขึ้นด้วยส่วนประกอบเพียงส่วนเดียวไม่ได้  ต้องเกิดขึ้นจากองค์รวมพร้อม ๆ กัน

2.2 สุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรม
มนุษย์ไม่เคยหยุดนิ่ง  ชอบสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา  เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสคุณค่าความงามจากธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ด้วยกันสร้างขึ้นมา  ก่อให้เกิดความคิดและจินตนาการขึ้น  ส่งผลถึงการแสดงออกเป็นพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น   การวาดภาพ   การปั้น-แกะสลัก   การก่อสร้าง   การประพันธ์  การร่ายรำ  การเรียบเรียงเสียงประสาน  เป็นต้น  พฤติกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวส่งผลให้เกิดเป็นผลงานศิลปะขึ้นมามากมาย  เมื่อเวลาผ่านพ้นไป  ความคิด  จินตนาการและเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ผลงาน  ได้รับการสืบทอดต่อ ๆ กันมา  จนเกิดเป็นศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชนนั้น ๆ และพัฒนาต่อเนื่องจนอิ่มตัวถึงขั้นเป็นแบบอย่างเฉพาะของแต่ละกลุ่มชน  ตั้งแต้ระดับพื้นบ้าน  จนถึงระดับชาติ  พฤติกรรมการสร้างสรรค์วัตถุแห่งความงามดังกล่าว  สามารถจัดรวมเป็นหมวดหมู่  หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางสุนทรียภาพ  3  ทางคือ
ก.      พฤติกรรมทางภาพลักษณ์
ข.      พฤติกรรมทางเสียง
ค.      พฤติกรรมทางการเคลื่อนไหว
ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวของตะวันตก   และตะวันออกเกิดจากพื้นฐานความคิด เเละจินตนาการที่   แตกต่างกัน


2.2.1       สุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรมแนวตะวันตก
ความคิดและจินตนาการของชาวตะวันตกเกิดขึ้นนับย้อนไปตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  เชื่อว่าธรรมชาติคือต้นแบบของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ตามทัศนะของกรีก  คือ  การเลียนแบบธรรมชาติ  ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นหาความสมบูรณ์ของวัตถุสิ่งของตามความเป็นจริงหรือตามลักษณะที่ได้สัมผัสรับรู้  ภายหลังต่อมาการเลียนแบบดังกล่าว  มิได้จำกัดเฉพาะธรรมชาติ  หากแต่รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ อีกด้วย  บ่อเกิดของสุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรมแนวตะวันตก พัฒนาจากการเลียนแบบธรรมชาติ  ก่อนแล้วจึงพัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์เพื่อคริสตศาสนา  จนกระทั่งถึงการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดของศิลปินโดยส่วนตัวอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
2.2.2       สุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรมแนวตะวันออก
ศิลปะตะวันออกแตกต่างไปจากศิลปะของโลกตะวันตก   ซึ่งความจริงแล้วความแตกต่างนี้ก็คือความแตกต่างทางศาสนาของตะวันออกกับคริตศาสนานั่นเอง  ศิลปะตะวันออก  มีพื้นฐานความเชื่อ  ศรัทธาในศาสนา เช่น  พุทธศาสนา  ศาสนาพราหมณ์  ศาสนาอิสลาม เป็นต้น  คุณค่าทางสุนทรียภาพ  จึงเป็นคุณค่าความงามที่เกิดจากความคิดและปรัชญา [ Ideal  Beauty ]  อันมีที่มาจากศาสนานั่นเอง  ถึงแม้จะมีจุดกำเนิดจากธรรมชาติเช่นเดียวกับตะวันตกก็ตาม  แต่ผลที่ออกมากลับแตกต่างกันชาวตะวันออกจะเสริมเติมแต่งอุดมคติ                 ตามความเชื่อของแต่ละชนชาติไว้ด้วยเป็นสำคัญ
การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ  คือสิ่งบ่งชี้ถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของตะวันตกและตะวันออก  เป็นผลที่เกิดจากพฤติกรรมเชิงสุนทรียภาพ ภายใต้ชื่อเรียกว่า  ศิลปะ ที่ตกทอดมาหลายชั่วอายุคนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

2.3  ความหมายของศิลปะ
2.3.1       ความหมายทั่วไป   (เพิ่มเติมเนื้อหานำ)
คำว่า  ศิลปะ”  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Art”   หมายถึง  ฝีมือทางการช่าง  การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์เห็น  โดยเฉพาะความหมายถึงวิจิตรศิลป์ (ราชบัณฑิตยสถาน,2530) ก็ได้หรืออาจจะหมายถึง  ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้  ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ    ความประทับใจ  หรือความสะเทือนอารมณ์ตามอัจฉริยภาพ   พุทธิปัญญา   ประสบการณ์    รสนิยมและทักษะของแต่ละคน  เพื่อความพอใจ  ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม  จารีตประเพณีหรือความเชื่อในแต่ละศาสนา (ราชบัณฑิตยสถาน,2530) ก็ได้  นอกจากนั้น  ยังหมายถึงงานช่างที่แสดงฝีมือและความคิดของศิลปิน (ราชบัณฑิตยสถาน,2530รวมทั้งหมายถึง  ความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ (Neufeldlt &Guralnik(Eds.),1994บางท่านให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง  สิ่งสร้างสรรค์ที่แสดงออกอย่างสวยงามด้วยฝีมือและความคิดของมนุษย์(Hornby & Cowie,1987)
คำว่า ศิลปะจึงมีความหมายกว้างมาก  อาจสรุปได้ว่าคือ  สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นตามความสามารถและทักษะของตนถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ   โดยได้รับแรงดลใจจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ก่อให้เกิดความประทับใจ  ความสะเทือนอารมณ์ 
จากความหมายของศิลปะที่กล่าวมา  อาจอธิบายได้ว่า  ศิลปะคือ  กิจกรรมของมนุษย์หรือศิลปินที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจให้แก่มนุษย์ด้วยกันด้วยความรู้สึกและจิตวิญญาณ 
ศิลปะมีรูปแบบแตกต่างกันไป    อย่างน่ามหัศจรรย์  รูปร่าง  (Shape)  เสียง (Sound) และการเคลื่อนไหว (Movement) ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมล้วนเป็นสิ่งที่จูงใจศิลปินให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานศิลปะได้ทั้งสิ้น  ผลงานศิลปะบางชิ้นสวยงาม  บางชิ้นน่ารังเกียจ  ศิลปะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษยชาติ  สามารถสื่อความรู้สึกน่าเกรงขาม  มีพลังอำนาจ  น่าพิศวงชวนให้อัศจรรย์ใจ  สะท้อนความยุ่งยากซับซ้อนของจักรวาล  ศิลปะช่วยให้เกิดการค้นพบและชี้ให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
2.3.2  ความหมายเฉพาะ
ในปัจจุบันเราสามารถทำความเข้าใจศิลปะได้จากความหมายต่อไปนี้
ก.             ศิลปะคือ  การเลียนแบบธรรมชาติ (Art is the lmitation of Nature)
ตามความหมายนี้ศิลปะคือ  การถ่ายทอดสิ่งที่ได้สัมผัสจากโลกภายนอก(External  Worldตามความประทับใจในวัตถุและเหตุการณ์  โดยที่ศิลปินอาจเลือกถ่ายทอดเท่าที่จำเป็น  ตามที่ศิลปินเห็นว่าเหมาะสม  การเลียนแบบต่างจากการลอกแบบอย่างมาก  เพราะการลอกแบบนั้นมีคุณค่าเพียงความเหมือนกับต้นฉบับที่สุดเท่านั้น
ข.             ศิลป   คือการสำแดงพลังอารมณ์  (Art is Expression)
ตามความหมายนี้การแสดงออกทางอารม์และความรู้สึกเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์  ศิลปะจึงสะท้อนถึงอารมณ์และความรู้สึกของศิลปินด้วย 
ค.             ศิลป คือสื่อกลางสากลและเป็นภาษาอย่างหนึ่ง (Art is Communication  and  Language)
ตามความหมายนี้ศิลปะเป็นตัวกลางระหว่างผู้สร้าง (ศิลปินและผู้รับรู้(ผู้ชมต่างเข้าใจร่วมกันได้ในรูปแบบที่สื่ออกมา  ศิลปะจะไม่มีข้อจำกัด  ศิลปะสื่อความคิดให้ผู้ดู  ผู้ดูเลือกดูด้วยความพอใจมากกว่า  สัญลักษณ์เป็นสื่อทางกาย  ศิลปะเป็นสื่อทางใจ
ง.             ศิลปะ     คือรูปทรงที่มีนัยสำคัญ (Art is a singnificant from)
ตามความหมายนี้  ศิลปะมีคุณค่าที่รูปทรงเป็นสำคัญ  ผลงานศิลปะทุกชิ้นงามได้ด้วยการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างมีเอกภาพ


2.4   กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
            ศิลปะที่ดีนั้นนอกจากมีเรื่องราวแล้ว  จะต้องให้ความงามด้านสุนทรียภาพพร้อมกับให้ความคิดสติปัญญาของศิลปินเป็นสำคัญ
                เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า  ทัศนะของคนเราแต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์  ดังนั้นการที่จะหวังให้ศิลปินแสดงทัศนะให้ตรงกับความต้องการของผู้ดูจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก  ศิลปะก็คือผลงานของการแสดงความรู้สึกนึกคิดเฉพาะตัวของศิลปิน (Self  Expression)  โดยผ่านสื่อออกมาเป็นผลงานศิลปะ  เราอาจเขียนโครงสร้างกระบวนการสรางสรรค์ผลงานศิลปะออกมาเป็นแผนภูมิให้เข้าใจได้ดังนี้

มนุษย์      +           สิ่งแวดล้อม                +           สื่อ              =        ศิลปะ
MAN       +        ENVIRONMENT    +         MEDIA       =                     ART

2.4.1        มนุษย์ เป็นผู้ถ่ายทอดผลงานศิลปะ  โดยได้รับเเรงบันดาลใจจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ด้วยความรู้สึกประทับใจหรือความสะเทือนอารมณ์ 
2.4.2        สิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งเร้า       ที่ตัวกระตุ้นให้มนุษย์เกิดอารมณ์ความรู้สึก     และแสดงออกด้วยการถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะ  ได้แก่  ธรรมชาติ  ความเชื่อทางศาสนา  เรื่องราวจากวรรณคดี  ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี  เป็นต้น
2.4.3        สื่อหรือวัสดุ เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ถ่ายทอดแรงบันดาลใจที่ได้รับจากสิ่งแวดล้อมออกมาเป็นรูปธรรม  ได้แก่  กระดาษ    สี   เสียง  ท่าทางการเคลื่อนไหว  เป็นต้น
2.4.4        ผลงานศิลปะ (ART)  เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจในสิ่งแวดล้อมของมนุษย์โดยผ่านสื่อ  ให้ปรากฏเป็นรูปธรรม  ที่เรียกว่า  ผลงานศิลปะ



                                            หน่วยการเรียนที่ 3
                                  แหล่งที่มาของความงาม


ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีลักษณะทั้งทางกายภาพ   และชีวภาพ    อยู่รอบ ๆ   ตัวเราเกิดขึ้นมาเองได้แก่  สิ่งของวัตถุ สารประกอบ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น มนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ ดิน หิน อากาศ วัตถุธาตุ ฯลฯ  เป็นต้น  สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวเราสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง คือ หู  ตา  จมูก  ลิ้น กาย ธรรมชาติจึงเป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม การที่ธรรมชาติมีบทบาทต่อตัวเรา ขึ้นอยู่กับการตอบสนอง  ตามคุณสมบัติเฉพาะหรือศักยภาพของสิ่งนั้น  เราจำเป็นต้องสังเกตุหรือทำความเข้าใจในธรรมชาติเพื่อพัฒนาพื้นฐานของชีวิตด้านอารมณ์ความรู้สึก 

  ลักษณะหรือคุณสมบัติของธรรมชาติอันเป็นแหล่งที่มาของความงามหรือคุณค่าทางสุนทรียภาพแบ่งได้ 3 กลุ่มตามประสาทสัมผัส


3.1  ภาพลักษณ์ (Image)  สัมผัสได้ด้วยประสาทตาดังนี้
3.1.1  รูปร่าง,รูปทรง (Shape,Form)ได้แก่เส้นรอบนอกของพื้นที่,สี,ผิว,มวล และปริมาตร  มีลักษณะคดโค้ง ตรง แบน กลมและส่วนที่เป็นเนื้อที่ภายในมีความกว้าง  ความยาว  ความลึก  เป็นกลุ่มก้อน 3 มิติ  เช่น รูปร่างของดอกไม้ รูปทรงของพุ่มไม้  เป็นต้น
3.1.2   เส้น (Line) ได้แก่ สิ่งที่นำสายตาเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่าง ๆ หรืออาจเป็นสิ่งแบ่งพื้นที่หรือกำหนดบริเวณของที่ว่าง,สี,ผิว,มวลวัตถุ  หรือเป็นขอบรอบนอกของรูปร่างรูปทรงเส้นมีลักษณะโค้ง เว้า ตรง ขยุกขยิกไม่แน่นอน หยัก ประ ขาดเป็นช่วง ๆ เห็นได้ด้วยตาและไม่เห็นด้วยตาเป็นนัย
3.1.3  สี (Colour)  ได้แก่  สีสันของสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะจากเนื้อแท้ของสิ่งนั้นเปล่งค่าสีให้เราเห็นเป็นสีสันแตกต่างหลากหลาย  เราเรียกสีต่าง ๆ เป็น ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง เป็นต้น
3.1.4   พื้นผิว(Texture)  ได้แก่  ลักษณะผิวหน้าของวัตถุ  ลวดลายของวัตถุ ให้ความรู้สึกหยาบ  ละเอียด  เนียน  มัน  ด้าน  หนัก  แข็ง  ทึบ  เก่าแก่    อ่อน  นุ่ม  เบา  สว่าง    กลมกลืน  น่าสัมผัสหรือไม่น่าสัมผัสอาจจะเป็นลวดลายมีลักษณะแปลกตา
3.1.5  พื้นที่ว่าง  (Space )   ได้แก่     พื้นที่ที่เป็นรูปวัตถุ   (Positive  Space)     เช่น กลุ่มพันธุ์ไม้  ภูเขา  ฯลฯ     และพื้นที่ที่เป็นที่โล่ง   (Open  Space)     หรือไม่ใช่รูปวัตถุ  (Negative  Space)  เช่น  พื้นดิน  สนามหญ้า  พื้นน้ำ  ท้องฟ้า  พื้นที่ที่เป็นที่โล่งจะให้ความรู้สึกสบาย  ปลอดโปร่ง  แต่ถ้าพื้นที่น้อย  หรือแคบจะให้ความรู้สึกอึดอัด  ไม่สบายใจ  ทึบ  ไม่ปลอดภัย
3.1.6   ลวดลาย ( Pattern ) ได้แก่  สิ่งที่ปรากฏมีลักษณะแปลกตา  เกิดจากการรวมตัวของจุด  เส้น  สี  พื้นผิว  เป็นกลุ่ม  ต่อเนื่อง  แบบซ้ำ ๆ ให้ความรู้สึกสวยงาม  น่าทึ่งชวนมอง  ประทับใจ  ทำให้เกิดความคิดเป็นจินตนาการต่าง ๆ เช่น  ลายหินอ่อน  ลายเนื้อไม้สัก  ลายใบไม้  ลายปักแมลง  ผีเสื้อ  เป็นต้น
3.1.7   มวล (Mass)  ได้แก่  พื้นที่ภายนอกของวัตถุที่เกิดจากการรวมตัวของเนื้อในวัตถุ  เช่น     ต้นไม้     มวลของหินหรือการรวมกลุ่มของรูปย่อย ๆ    จำนวนมาก       เช่น คนจำนวนมาก  ต้นไม้จำนวนมาก  รวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กถึงกลุ่มใหญ่ ๆ เป็นกลุ่ม
3.1.8   ปริมาตร (Volume)  ได้แก่    พื้นที่ที่กินระวางพื้นที่ในอากาศ  หรือบริเวณว่างของวัตถุ  กำหนดให้เห็นเป็นรูปทรงคือ  มีส่วนของความกว้าง  ความยาว  ความลึกหรือหนา  มีลักษณะเป็น 3 มิติ
ภาพลักษณ์ตามธรรมชาติดังกล่าว  ก่อให้ความเพลิดเพลิน  ความชอบของแต่ละบุคคลเมื่อได้สัมผัส  เป็นคุณค่าที่เกิดจากภาวะสัมพันธ์ระหว่างความสนใจกับสิ่งที่ถูกสนใจ  ถ้าได้ศึกษาจนเกิดความรู้ความเข้าใจ  อาจฝังลึกเป็นรสนิยมทางการรับรู้ความงามด้านทัศนศิลป์  นาฏศิลป์  ต่อไป

3.2   เสียง  [Sound] สัมผัสได้ด้วยประสาทหู  การรับรู้เสียงจากธรรมชาติ  เช่น  การได้ยินเสียงนก เสียงกรีดปีกของแมลง  เสียงน้ำตก  เสียงคลื่นกระทบฝั่ง  ตลอดจนเสียงของมนุษย์  จำแนกได้ดังนี้
3.2.1  คลื่นเสียง (Sound  Wave)  ได้แก่  การอัดขยายตัวของเสียงในอากาศ  เรารับฟัง  เกิดเสียง  ได้ยินเสียง  เช่น  การสั่นสะเทือนของวัตถุ  เกิดเสียงสั้น-ยาว  พลังเสียงร้องของมนุษย์  สัตว์ที่มีอวัยวะที่ก่อให้เกิดเสียง  โดยเฉพาะเส้นเสียง (Vocal  Chord)  เส้นเสียงยาว  เสียงจะมีพิสัยกว้าง  เส้นเสียงสั้น  เสียงจะมีพิสัยค่อนข้างแคบ  เส้นเสียงหนา  เสียงจะค่อนข้างทุ้ม  เส้นเสียงบาง  เสียงจะค่อนข้างแหลม
3.2.2 ระดับเสียง (Pitch)  ได้แก่  การได้ยินเสียงสูง  และเสียงต่ำ  ซึ่งเกิดจากความถี่ (Frequency)  ของการสั่นสะเทือนของต้นเสียง
3.2.3 ความเข้มของเสียง (Intensity)  ได้แก่  ความดังหรือความเบา  ซึ่งขึ้นอยู่กับพลังของการส่งคลื่นเสียง  เช่น  การออกเสียงเบา ๆ แล้วเพิ่มพลังให้เสียงดังมากขึ้น  โดยใช้กล้ามเนื้อที่เส้นเสียง  ควบคุมการเปล่งเสียง  เป็นต้น
3.2.4  ความกว้างของเสียง (Amplitude)  ได้แก่  คลื่นเสียงเทียบกับคลื่นที่เกิดบนผิวน้ำ  คือ  น้ำกระเพื่อมมาก  คลื่นก็จะใหญ่มาก  ดังภาพ

3.2.5 สีสันของเสียง (Timbre หรือ Tone  colour )  ได้แก่  เสียงที่แสดงความแตกต่างของระดับเสียง  ความเข้มของเสียง  คุณภาพของเสียงซึ่งเกิดจากรูปร่าง  ระบบเสียง  สถานที่เกิดเสียง  และปฏิกิริยาโต้ตอบของหูฟัง  เสียงหนึ่ง ๆ ไม่ได้ประกอบด้วยระดับเสียงเพียงเสียงเดียว  แต่มักจะมีระดับเสียงต่าง ๆ เกิดขึ้นพร้อมกัน  เรียกว่า  Partials  (พาร์เชียลจำนวนเสียง  ความเข้มของเสียง  การกระจายพาร์เชียล  ซึ่งประกอบกันเป็นเสียง  นับเป็นตัวกำหนดสีสันของเสียง  เสียงโดมีจำนวนพาร์เชียลน้อย  จะมีเสียงใสและแผ่วเบา  ส่วนเสียงที่มีพาร์เชียลมากจะมีเสียงหนักแน่น  พาร์เชียลอาจจะเรียกว่า  Harmonies  ก็ได้
3.2.6  จังหวะ (Rhythm)  ได้แก่  ความสั้นยาวของเสียง  มีลักษณะสั้นบ้างยาวบ้าง  เป็นการแบ่งจังหวะเสียง การฟังเสียง   จะต้องมีความรู้ทั่วไปทางกายภาพที่เกี่ยวกับการเปล่งเสียง    เราไม่อาจฟังเพลงได้ดี  ถ้าหากเราไม่เข้าใจหลักทางกายภาพ  และกฎการเปล่งเสียงตามหลักวิทยาศาสตร์    และกฎของธรรมชาติ  เสียงที่ก่อให้เกิดความซึ้งใจมากที่สุดคือ  เสียงขับร้องของมนุษย์และเสียงดนตรี 

3.3  การเคลื่อนไหว(Movement)  คือการเปลี่ยนแปลงกริยาเชื่อมต่อระหว่างของสองสิ่งหรือลีลา พลิ้วไหวในตัวเองของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  เช่น  การเคลื่อนไหวของธรรมชาติจำแนกได้ดังนี้

3.3.1 การเคลื่อนไหวด้วยกิริยาทางกายภาพ  เช่น  การเดิน  การวิ่ง  การเอียงตัว  บิดตัว  โยกตัว  เป็นต้น
3.3.2 การเคลื่อนไหวเชื่อมต่อระหว่างของสองสิ่ง  หรือหลาย ๆ สิ่ง  ที่มีลักษณะต่อเนื่องเกี่ยวข้องเป็นจังหวะ
3.3.3 การเคลื่อนไหวตามการเปลี่ยนแปลงค่าของแสงสว่าง  มืด  สลับสับเปลี่ยน  ทำให้สายตาจับภาพกลับไปมารู้สึกภาพเคลื่อนที่
3.3.4 การเคลื่อนไหวเนื่องจากตำแหน่งเลื่อนไหล  เช่น  สิ่งของเคลื่อนตามสายน้ำจากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่ง
3.3.5 การเคลื่อนไหวในที่ว่างสัมพันธ์กับเวลา (Space and  Time)  เป็นการเคลื่อนไหวบอกทิศทาง  ได้แก่  การเรียงลำดับความช้าไปสู่ความเร็ว  การเริ่มต้นไปสู่จุดหมายปลายทาง  เช่น  นกบิน  ลมพัดก้อนเมฆ  การไหลของน้ำ    ของตกจากที่สูง  การเคลื่อนไหวของเปลวไฟ  ควันไฟ  ฯลฯ
3.3.6 การเคลื่อนไหวในกฎเกณฑ์ของจักรวาล  เป็นการขับเคลื่อนของสิ่งของที่มีน้ำหนัก  ตกจากที่สูงลงมาในที่ต่ำ  และเคลื่อนในแนวดิ่ง การเคลื่อนไหวรอบแกนกลาง วิ่งเข้าหาแกน วิ่งออกจากแกน
การมองลีลาการเคลื่อนไหว  จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับท่วงท่า  ทั้งนี้เพื่อจะนำมาซึ่งความรู้สึก  ก่อให้เกิดความสนุกเพลิดเพลินอันเป็นที่มาของความงามทางนาฏศิลป์และการแสดง

3.4  คุณค่าความงามในธรรมชาติ

ประสบการณ์จากการสัมผัสธรรมชาติด้วยประสาททั้ง 5 ทำให้เราเรียนรู้ความงามเบื้องต้น  การสัมผัสธรรมชาติ  ทำให้เราเกิดความพึงพอใจ  สบายใจ  อิ่มใจ  เเละดีใจ  คือ  เห็นความงาม (Beauty)  ความแปลกหูแปลกตา (Pieture squeness)  และความน่าทึ่ง (Sublimity)  ( ไพฑูรย์  พัฒน์ใหญ่ยิ่ง,2541:1) สอนให้มีประสบการณ์ในการตัดสินคุณค่าทางสุนทรียภาพ  คือ  แบ่งระดับของสิ่งสัมผัสได้  เป็นการสัมผัสระดับสูง    เสียงที่ไพเราะ   ภาพที่งดงาม   กิริยาที่นุ่มนวล   เป็นต้นแบบของความเป็นเอกภาพ (Unity)   ความสมบูรณ์  (Complexity)  และความเข้มข้นทางความรู้สึก (Intensity)
ความงามของธรรมชาติเป็นความงามที่เกิดขึ้นจริง เป็นสมบัติของธรรมชาติ  เช่น  เนื้อของธรรมชาติ  กิริยาอาการของธรรมชาติ  ความคล้ายคลึงและการรวมตัวเป็นเอกภาพของธรรมชาติ  และความเข้มข้นที่เกิดจากความแตกต่างของธรรมชาติ  เป็นต้น  เราอาจจะเกิดความประทับใจในคุณสมบัติของธรรมชาติบางขณะ  และเมื่อกาลเวลาผ่านไป   ความประทับใจในคุณสมบัตินั้นอาจจะเปลี่ยนไป   แต่ความจริงคุณสมบัติของธรรมชาติตรงส่วนนั้นมิได้เปลี่ยนไป        เราควรจะเข้าใจว่า       เนื้อของธรรมชาติก็ดีกิริยาธรรมชาติก็ดี  เป็นสมบัติสุนทรียะเฉพาะของวัตถุ  ต้นไม้  และวัตถุทุกชนิดที่ปลูกหรือวางในบริเวณส่วนย่อม  มีผิวพรรณ  มีสัดส่วน  มีขนาด  รูปร่าง รูปทรง  ล้วนแต่น่ามอง  นั่นเพราะว่า  คุณสมบัติของธรรมชาติและวัตถุมีองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ดังนี้
3.4.1 ความสมบูรณ์  ได้แก่  ลักษณะอัตราความเจริญเติบโต  การเจริญพันธุ์ของพรรณไม้เป็นอย่างดี  ประกอบกับการดูแลบำรุงรักษาให้ต้นไม้สมบูรณ์ ไม่ทรุดโทรม  หรือคุณค่าของวัตถุที่มีลวดลาย  สีสันผิวพื้นที่ปราศจากตำหนิ และรักษาดูแลให้คงที่เป็นเวลายาวนานที่สุด (ให้ปรับการเขียนใหม่โดยเน้นบูรณาการ)
3.4.2  กิริยาอาการ  จากส่วนประกอบย่อย  ด้านรูปร่าง หน้าตา แววตา ที่แสดงออกโน้มน้าวให้เกิดความสนใจ  พุ่งตรงไปยังกิริยาบางอย่างของสิ่งเป็นธรรมชาตินั้น  ได้แก่  กิริยาของธรรมชาติ  กำลังเคลื่อนไหวด้วยกิริยาทางกายภาพ  หรือเคลื่อนไหวด้วยความเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบข้างของกายภาพ  เช่น  แสง  เงา  ตำแหน่งที่เป็นเด่น  ไม่เป็นเด่น  ความหนาแน่นของมวลอากาศ  เป็นต้น
3.4.3  ความแตกต่าง , ความแปลกใหม่ เป็นความงามที่แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา  ฤดูกาล  คุณลักษณะเด่น  ลักษณะด้อยที่แอบแฝงหรือแตกต่างไปจากพันธุกรรมเดิม เช่น งูมีลวดลายที่ผิวหนังสวยงาม  แตกต่างจากงูธรรมดา  งูที่มีสีขาวเผือก  ผิดไปจากพันธุกรรมเดิม  หรือแมวสีขาวมีตาสีฟ้าหนึ่งข้าง  สีเหลืองอัมพันอีกหนึ่งข้าง  เป็นต้น
3.4.4  ความเป็นระเบียบ   เรียงรายเป็นลำดับ   ลดหลั่นเป็นจังหวะ    ในลักษณะถดถอย ก้าวหน้า  เป็นแถวเป็นแนว ให้ความรู้สึกเรียบร้อย ไม่สะดุดตาตรงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กลุ่มต้นหมากแดง  มีต้นแม่อยู่ในตำแหน่งกลาง  แตกแขนงแผ่ขยายตอรอบต้นแม่  ลดหลั่นความสูง  ขนาด  เป็นลำดับ  เป็นต้น
3.4.5  ความสดใสสพรั่งของช่วงระยะอิ่มตัวให้ความรู้สึกสดชื่นตื่นตา เช่น ดอกไม้ทอดดอก  ขยายกลีบ  สีสดใสบานสพรั่งอยู่ในช่วงระยะหนึ่ง  เป็นต้น
3.4.6   ความยิ่งใหญ่ ความงามของธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความน่าทึ่ง  มีอำนาจดึงดูด  ให้ความรู้สึก  เท่ห์  สง่า  น่าเกรงขาม  น่ารักน่าชัง  อบอุ่น  หนาวเหน็บ  เช่น  ความยิ่งใหญ่ของภูเขา  ต้นไม้ใหญ่  ลูกสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ เป็นต้น
ความงามของธรรมชาติ  เมื่อครบกำหนดอายุก็เริ่มสลายโรยรา  เช่น  สีที่เคยให้ความสดใส  อิ่มเอิบ  นุ่มนวล  ชุ่มฉ่ำ  ก็อาจแปรเปลี่ยนเป็นเฉาแห้ง  แข็งกรอบ  ไปตามกาลเวลา  ความงามของธรรมชาติจึงเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ให้คุณค่าทางความงามเบื้องต้น    ที่มนุษย์สืบค้นหาความหมายของความงาม  ให้กับรูปแบบต่าง ๆ  พลังความงามจากธรรมชาตินี้เอง    จะเป็นวัตถุดิบในการประเมินค่าความงาม   เป็นเกรด  เป็นอันดับของการเลือกสรร

3.5  คุณค่าความงามในศิลปะ
    ความงามของศิลปะ  เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นจากแรงบันดาลใจที่ได้จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ซึ่งมีเกณฑ์ความงามที่ควรพิจารณาด้านต่าง ๆ ดังนี้  
3.5.1. ต้องให้คุณค่าความเพลิดเพลิน ความงามในศิลปะมาจากความเพลิดเพลิน เพราะความงามโดยไม่เอาความจำเป็นอื่นใดเข้าไปตำหนิเป็นเกณฑ์ตัดสิน  วิพากษ์วิจารณ์  หรือพลังบางชนิดเกี่ยวกับความงาม  ส่งออกมาปะทะความรู้สึกครั้งแรก  เช่น  เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงทำให้เราเกิดความวูบวาบ    และชอบขึ้นในความรู้สึกลึก ๆ   แล้วค่อยเอ่อล้นออกมาแทบทะลักทลายอย่างไร้เหตุผล  ประดุจการมองผลงาน                    ศิลปกรรมแบบไร้เดียงสาของเด็ก  เป็นต้น
3.5.2   สามารถค้นหาคุณค่าความงามตามระบบเหตุผลเชิงกฏเกณฑ์ได้  เช่น  ความถูกต้อง  แม่นยำ  แจ่มชัด  กลมกลืนของประติมากรรมกรีก   ท่ารำมาตรฐานของนาฏศิลป์ และ การเรียบเรียงเสียงประสานตามกฏเกณฑ์ทางดนตรี  เป็นต้น
3.5.3  ต้องรู้จักมองและเลือกเน้นลักษณะเด่น  ซึ่งมีเสน่ห์ดึงดูดใจ  ทำให้เกิดการหยั่งรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น    เช่น  รูปร่างหน้าตาของภาพบุคคลในงานศิลปกรรม  สามารถโน้มน้าวจิตใจให้คล้อยตาม  คือ  เพ่งมองเค้าเงื่อนของคุณสมบัติต่าง ๆ ซึ่งแสดงถึงรายละเอียดและลักษณะนิสัยที่สำคัญ (นิพาดา  เทวกุล  2531 : 42)
3.5.4 คุณค่าทางเทคนิค  เป็นคุณค่าของการใช้วัสดุเครื่องมือต่างๆที่นำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม   เช่นความงามจากการทอผ้าไหมของไทย  การใช้แสง สี เสียงในเทคนิคทางนาฏศิลป์ หรือการใช้อีเลคโทรนิคทางดนตรีเข้าช่วยในการบรรเลงดนตรี
3.5.5 คุณค่าขององค์ประกอบทางศิลปะที่มีอยู่ในงานศิลปะ  เช่น  จังหวะของเส้น  ปริมาตรของรูปทรง  ระยะที่เว้นว่าง  แสง  เงาและสี  หรือลีลา จังหวะและทำนองเพลงเป็นต้น 
การใช้สีสัน  ทั้ง 3 ประการจะเกี่ยวโยงกับความหนักเบา  ลีลา  และจังหวะเป็นสำคัญ
3.5.6 ความละเอียด ประณีต ผลงานศิลปกรรมจะต้องแสดงความละเอียด  ประณีต  เช่น  ได้ความรู้สึกว่า  ใช้เส้นละเอียด  พิถีพิถัน  แนบเนียน  เป็นต้น
จากเกณฑ์ที่กล่าวมา  ความงามทางด้านศิลปกรรมเป็นความสำนึกในคุณค่าทางความงามที่ศิลปินนำมาแสดงออก  และสร้างสมสืบทอดต่อเนื่องเป็นมรดกทางชาติต่อ ๆ มา  ฉะนั้นประสบการณ์ด้านความงามที่ได้จากการสัมผัสรับรู้จึงขึ้นอยู่กับคุณค่าทางศิลปะที่ผู้สรางหรือศิลปิน  ถ่ายทอดโดยสัมพันธ์กับรสนิยมของผู้รับรู้เป็นสำคัญ